เกาหลีใต้เปิดตัวจรวดอวกาศที่พัฒนาขึ้นเองในประเทศได้สำเร็จเป็นครั้งแรก หลังเคยพยายามเปิดตัวมาก่อนหน้านี้แล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ล้มเหลว
จรวดอวกาศนูรีของเกาหลีใต้ ได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์อวกาศนาโรในหมู่บ้านชายฝั่งทางตอนใต้ของเขตโกฮึง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ถ่ายภาพและเผยแพร่โดยสถาบันวิจัยการบินและอวกาศของเกาหลี (Photo by Handout / Korea Aerospace Research Institute (KARI) / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า เกาหลีใต้เปิดตัวยานลำเลียงดาวเทียมเกาหลี II (เคเอสแอลวี II) ซึ่งเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาด 200 ตันที่มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "นูรี" และได้รับการปล่อยจากฐานปล่อยยานในเขตโกฮึง เวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย)
“นูรีเสร็จสิ้นการบินตามแผน ตอนนี้วิศวกรกำลังวิเคราะห์ข้อมูลการบิน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจึงจะเสร็จสมบูรณ์” โอ แทซอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และนวัตกรรมของเกาหลีใต้กล่าว
การทดสอบปล่อยจรวดอวกาศของเกาหลีใต้เป็นครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากการทดสอบครั้งแรกล้มเหลวเมื่อ 8 เดือนก่อน จากความพยายามในการนำดาวเทียมจำลองขึ้นสู่วงโคจร
ในครั้งนั้น จรวดทำงานใน 3 ระยะการทดสอบได้ดีในการทดสอบครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ยานพาหนะสามารถบินได้สูงถึง 700 กิโลเมตร และทำการแยกน้ำหนักบรรทุก 1.5 ตันได้สำเร็จ แต่ประสบความล้มเหลวในการนำดาวเทียมจำลองขึ้นสู่วงโคจรเนื่องจากเครื่องยนต์ในระยะที่ 3 หยุดการเผาไหม้เร็วกว่ากำหนด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ปรากฏว่าขั้นตอนของการเปิดตัวเป็นไปตามแผนที่วางไว้ "นูรีสามารถปล่อยดาวเทียมจำลองได้สำเร็จ" สถานีโทรทัศน์ YTN ของเกาหลีใต้รายงานจากฐานปล่อยยาน
ในการทดสอบเมื่อวันอังคาร นอกจากดาวเทียมจำลองแล้ว นูรียังสามารถปล่อยดาวเทียมตรวจสอบประสิทธิภาพจรวดและดาวเทียมย่อ ทรงลูกบาศก์ 4 ลูก ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยท้องถิ่น 4 แห่งเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย ในคราวเดียวกันอีกด้วย
"นูรี" ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลากว่า 10 ปี และใช้งบประมาณกว่า 2 ล้านล้านวอน (ประมาณ 55,000 ล้านบาท) มีน้ำหนัก 200 ตันและยาว 47.2 เมตร ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวทั้งหมด 6 ตัว
ในทวีปเอเชีย ประเทศจีน, ญี่ปุ่น และอินเดียต่างก็มีโครงการอวกาศขั้นสูง รวมถึงเกาหลีเหนือซึ่งติดอาวุธนิวเคลียร์ ก็เป็นประเทศล่าสุดที่มีความสามารถในการปล่อยดาวเทียมของตนเอง
การเปิดตัวอย่างสำเร็จในวันอังคาร ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ 7 ในโลกที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการส่งยานอวกาศที่บรรทุกดาวเทียมมากกว่า 1 ตัน และความสำเร็จล่าสุดนี้อาจทำให้เกาหลีใต้เข้าใกล้เป้าหมายด้านอวกาศมากขึ้น รวมถึงแผนการที่จะลงจอดยานสำรวจบนดวงจันทร์ภายในปี 2573
ทั้งนี้เกาหลีใต้วางแผนที่จะดำเนินการทดสอบจรวดและยานอวกาศ อีก 4 ครั้งภายในปี 2570.
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า เกาหลีใต้เปิดตัวยานลำเลียงดาวเทียมเกาหลี II (เคเอสแอลวี II) ซึ่งเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาด 200 ตันที่มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "นูรี" และได้รับการปล่อยจากฐานปล่อยยานในเขตโกฮึง เวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย)
“นูรีเสร็จสิ้นการบินตามแผน ตอนนี้วิศวกรกำลังวิเคราะห์ข้อมูลการบิน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจึงจะเสร็จสมบูรณ์” โอ แทซอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และนวัตกรรมของเกาหลีใต้กล่าว
การทดสอบปล่อยจรวดอวกาศของเกาหลีใต้เป็นครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากการทดสอบครั้งแรกล้มเหลวเมื่อ 8 เดือนก่อน จากความพยายามในการนำดาวเทียมจำลองขึ้นสู่วงโคจร
ในครั้งนั้น จรวดทำงานใน 3 ระยะการทดสอบได้ดีในการทดสอบครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ยานพาหนะสามารถบินได้สูงถึง 700 กิโลเมตร และทำการแยกน้ำหนักบรรทุก 1.5 ตันได้สำเร็จ แต่ประสบความล้มเหลวในการนำดาวเทียมจำลองขึ้นสู่วงโคจรเนื่องจากเครื่องยนต์ในระยะที่ 3 หยุดการเผาไหม้เร็วกว่ากำหนด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ปรากฏว่าขั้นตอนของการเปิดตัวเป็นไปตามแผนที่วางไว้ "นูรีสามารถปล่อยดาวเทียมจำลองได้สำเร็จ" สถานีโทรทัศน์ YTN ของเกาหลีใต้รายงานจากฐานปล่อยยาน
ในการทดสอบเมื่อวันอังคาร นอกจากดาวเทียมจำลองแล้ว นูรียังสามารถปล่อยดาวเทียมตรวจสอบประสิทธิภาพจรวดและดาวเทียมย่อ ทรงลูกบาศก์ 4 ลูก ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยท้องถิ่น 4 แห่งเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย ในคราวเดียวกันอีกด้วย
"นูรี" ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลากว่า 10 ปี และใช้งบประมาณกว่า 2 ล้านล้านวอน (ประมาณ 55,000 ล้านบาท) มีน้ำหนัก 200 ตันและยาว 47.2 เมตร ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวทั้งหมด 6 ตัว
ในทวีปเอเชีย ประเทศจีน, ญี่ปุ่น และอินเดียต่างก็มีโครงการอวกาศขั้นสูง รวมถึงเกาหลีเหนือซึ่งติดอาวุธนิวเคลียร์ ก็เป็นประเทศล่าสุดที่มีความสามารถในการปล่อยดาวเทียมของตนเอง
การเปิดตัวอย่างสำเร็จในวันอังคาร ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ 7 ในโลกที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการส่งยานอวกาศที่บรรทุกดาวเทียมมากกว่า 1 ตัน และความสำเร็จล่าสุดนี้อาจทำให้เกาหลีใต้เข้าใกล้เป้าหมายด้านอวกาศมากขึ้น รวมถึงแผนการที่จะลงจอดยานสำรวจบนดวงจันทร์ภายในปี 2573
ทั้งนี้เกาหลีใต้วางแผนที่จะดำเนินการทดสอบจรวดและยานอวกาศ อีก 4 ครั้งภายในปี 2570.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
9โปรสาวไทยนำโดย'อาฒยา' ล่าแชมป์ 'BMWเลดีส์' ที่เกาหลีใต้ชิงกว่า73.3ล้าน
การแข่งขันกอล์ฟแอลพีจีเอ ทัวร์ รายการ บีเอ็มดับเบิลยู เลดีส์ แชมเปียนชิพ ชิงเงินรางวัลรวม 2.2 ล้านดอลลาร์หรือราว 66.5 ล้านบาท ที่โซวอน วัลเลย์ คันทรี คลับ ในโซวอน ฮิลล์ส จังหวัดกยองกี สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 17-20 ตุลาคม 2567 แข่งขันแบบสโตรกเพลย์ 72 หลุม มีนักกอล์ฟเข้าร่วมแข่งขัน 78 คน ไม่มีการตัดตัว เป็นรายการที่สองในสี่รายการของ "เอเชีย สวิง" โดย อี มินจี โปรสาวเชื้อสายเกาหลีจากออสเตรเลียดีกรีแชมป์เมเจอร์เป็นแชมป์เมื่อปีที่แล้วกลับลงป้องกันแชมป์อีกด้วย
ศาลเกาหลีใต้ตัดสินปรับเงินพ่อซน ทำร้ายร่างกายเด็กในอคาเดมีตัวเอง
ศาลเกาหลีใต้ ตัดสินลงโทษปรับเงิน ซน วุง จอง พ่อของ ซน ฮึง มิน ซูเปอร์สตาร์ทีมชาติเกาหลีใต้ เป็นจำนวนเงิน 3 ล้านวอน หรือราว 7.3 หมื่นบาท จากความผิดข้อหาทำร้ายร่างกาย และจิตใจ เด็กฝึกในอคาเดมีของตัวเอง
'กฤตยชญ์'กู้หน้าให้ไทย คว้าเหรียญทองแดง ส่งท้ายเทควันโดโลก
“อ้อน” กฤตยชญ์ พร้อมปัจจุ จอมเตะดาวรุ่ง กู้หน้าให้ทีมเทควันโดไทย หลังคว้าเหรียญทองแดง รุ่น 68 กก.ชาย ในวันสุดท้ายของศึกเทควันโดเยาวชนโลก 2024 ที่เมืองชุนชอน ประเทศเกาหลีใต้ โดยรอบ 8 คน เจ้าตัวพลิกเกมกลับมาเอาชนะจอมเตะสหรัฐฯแบบสุดมัน 2-1 ยก น่าเสียดายที่รอบตัดเชือก สภาพร่างกายดูไม่สมบูรณ์นัก ทำให้พ่ายจอมเตะจากชาติเป็นกลางไป 0-2 ยก สรุปหลังจบการชิงชัยทัวร์นาเมนต์นี้ ไทยที่ส่ง 16 จอมเตะเข้าร่วม คว้ามาได้ 1 ทองแดง
'กิเลน'หวังเซอร์ไพรส์ เกม'AFC แชมเปี้ยนส์ ลีก'2 เยือนชนบุคฯ3ต.ค.นี้
"กิเลนผยอง"เมืองทอง ยูไนเต็ด ร่วมแถลงความพร้อมก่อนศึกฟุตบอลถ้วยเอเชีย "เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก 2" รอบแบ่งกลุ่ม นัดที่ 2 พบเจ้าถิ่น ชนบุค ฮุนได มอเตอร์ส ยักษ์ใหญ่จากศึกเคลีก เกาหลีใต้ วันที่ 3 ตุลาคม 2567 เวลา 15.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย)
ไทยโชว์งานศิลปะร่วมสมัย'ช็องจู คราฟต์ เบียนนาเล่'
12 ก.ย.2567 - นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการจัดนิทรรศการประเทศรับเชิญในงาน 2025 Cheongju Craft Biennale ร่วมกับ Mr. Lee Beom-seok ผู้ว่าการเมืองช็องจู ประธานคณะกรรมการจัดงาน Cheongju Craft Biennale ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันก่อน