ในความพยายามของชาติตะวันตกที่ต้องการปรับลดการซื้อพลังงานของรัสเซีย แต่จีนกลับเพิ่มการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียในเดือนพฤษภาคม กลายเป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาลมอสโก ชดเชยในส่วนที่หายไปจากการถูกคว่ำบาตร
แฟ้มภาพ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกำลังตรวจสอบเรือบรรทุกน้ำมันที่นำเข้าน้ำมันดิบ บริเวณท่าเรือชิงเต่า ในมณฑลซานตง ทางตะวันออกของจีน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม (Photo by AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า ประเทศจีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก นำเข้าน้ำมันประมาณ 8.42 ล้านตันจากรัสเซียเมื่อเดือนที่แล้ว เพิ่มขึ้น 55% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งเองยังคงสงวนท่าทีที่จะประณามการทำสงครามของรัสเซียในยูเครน แถมยังเพิ่มความร่วมมือทางเศรษกิจกับประเทศเพื่อนบ้านมหาอำนาจอีกด้วย
ข้อมูลจากหน่วยงานศุลกากรของจีนเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า นอกจากจีนจะนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียในเดือนพฤษภาคมกว่า 8.42 ล้านตันแล้ว ยังนำเข้าน้ำมันจากซาอุดีอาระเบียอีก 7.82 ล้านตันอีกด้วย ดังนั้นการซื้อน้ำมันเพิ่มอย่างก้าวกระโดดหมายความว่า รัสเซียได้แซงหน้าซาอุดิอาระเบียในการก้าวขึ้นเป็นผู้จัดหาน้ำมันรายใหญ่ของจีนแล้ว
โดยรวมแล้วจีนซื้อผลิตภัณฑ์พลังงานของรัสเซียมูลค่ากว่า 7,470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 260,000 ล้านบาท) ในเดือนที่แล้ว ซึ่งมากกว่าเดือนเมษายนประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก
ข้อมูลศุลกากรฉบับล่าสุดเป็นการรวบรวมข้อมูลในช่วง 4 เดือนของการทำสงครามในยูเครน โดยมหาอำนาจตะวันตกอย่างสหรัฐฯ และบรรดาชาติยุโรปหลีกเลี่ยงการนำเข้าพลังงานของรัสเซีย หรือตั้งเป้าลดการซื้อพลังงานดังกล่าวให้ได้ทั้งหมดภายในปีนี้ เพื่อเป็นการคว่ำบาตร แต่อุปสงค์ด้านพลังงานของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจีนและอินเดีย กลายเป็นสิ่งที่ช่วยพยุงการสูญเสียรายได้จากการขายพลังงานเหล่านั้น
ตามสถิติการซื้อขายน้ำมันทั่วโลกล่าสุดของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ อินเดียได้แซงหน้าเยอรมนีในฐานะผู้นำเข้าน้ำมันดิบรัสเซียรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ส่วนอันดับ 1 คือจีน ซึ่งเป็นตลาดน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของรัสเซียตั้งแต่ปี 2559
นอกจากน้ำมันแล้ว การซื้อก๊าซธรรมชาติเหลวจากรัสเซียของจีนในเดือนพฤษภาคมยังเพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นจำนวนกว่า 397,000 ตัน
รัสเซียและจีนได้ยกระดับความร่วมมือกันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อถ่วงดุลกับชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯและสหภาพยุโรป
ชาติตะวันตกได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเพื่อตอบโต้การทำสงครามในยูเครน รัสเซียจึงจำเป็นต้องมองหาตลาดและซัพพลายเออร์รายใหม่เพื่อเข้ามาแทนที่บริษัทต่างชาติรายใหญ่ที่ย้ายออกจากรัสเซียหลังจากเริ่มสงคราม
เชื้อเพลิงและพลังงานเป็นแหล่งรายได้หลักของรัสเซีย และชาติตะวันตกกำลังพยายามลดทอนรายได้เพื่อขัดขวางความสามารถในการทำสงครามของรัสเซีย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พีระพันธุ์' แจงปลดล็อกโซลาร์รูฟท็อป ลดภาระประชาชน ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับใคร
ในการประชุมวุฒิสภา มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณาตั้งกระทู้ถามทั่วไป ของนายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว. ถาม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงา
ไทเป สงสัยจีนก่อวินาศกรรมเคเบิลใต้น้ำ
ไต้หวันขอให้เกาหลีใต้ช่วยสืบสวนเกี่ยวกับเรือของจีนลำหนึ่ง ที่อาจทำให้สายเคเบิลใต้น้ำได้รับความเสียหาย
'กมธ.ตำรวจ' ขยับ เรียกแจงคอร์ส ตร.อาสาชาวจีน
'ชัยชนะ' เผย นัด 'กมธ.ตำรวจ' สอบด่วน ปม ส.สยาม จัดคอร์สอบรม'ตำรวจอาสาชาวจีน' 9 ม.ค.นี้ พร้อมเชิญ 4 หน่วยงานชี้แจง
‘อลงกรณ์’ หนุน ‘พีระพันธุ์’ ขจัดผูกขาดพลังงาน ลั่น ‘You will never walk alone’
'อลงกรณ์'หนุน'พีระพันธุ์'ขจัดผูกขาดพลังงาน โพสต์วาทะดัง'คุณไม่ได้เดินเดียวดายคนเดียว-You will never walk alone'
จับตา 'พีระพันธุ์' เรตติ้งพุ่ง! 'แพทองโพย-เท้งเต้ง' ต่างมีจุดอ่อน
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "เท้ง-อุ๊งอิ๊ง ต่างมีจุดอ่อน จับตาพีระพันธุ์" โดยระบุว่า
'พีระพันธุ์' เผยความก้าวหน้า 'รื้อ ลด ปลด สร้าง' ระบบพลังงานไทย
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โพสต์เฟซบุ๊กว่า สวัสดีครับ ผมขออนุญาตเรียนความก้าว