ผู้คนนับพันร่วมชุมนุมเพื่อสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศในสิงคโปร์

ชาวสิงคโปร์หลายพันคนในชุดสีชมพูมารวมตัวกันที่สวนสาธารณะ เพื่อเรียกร้องให้มีการยอมรับสิทธิ LGBTQ มากขึ้น ถือเป็นการชุมนุมครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2562 หลังยกเลิกมาตรการโควิด

ภาพถ่ายทางอากาศของผู้ชุมนุมนับพันคนที่เข้าร่วมงาน "จุดสีชมพู (Pink Dot)" ประจำปี เพื่อแสดงการสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศของกลุ่ม LGBTQ ที่สวนสาธารณะฮงลิม ในสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน (Photo by Roslan RAHMAN / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า ชาวสิงคโปร์ออกมาชุมนุมทำกิจกรรมแสดงออกเพื่อเรียกร้องสิทธิเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQ ในวันเสาร์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการยอมรับทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการรับรองด้านกฎหมาย

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาแล้ว แต่ทัศนคติทางสังคมยังคงมีความอนุรักษ์นิยม และการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันยังคงผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่ากฎหมายที่บัญญัติไว้ จะไม่ได้บังคับใช้อย่างจริงจังก็ตาม

การชุมนุมเพื่อสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ "จุดสีชมพู (Pink Dot)" ของสิงคโปร์ เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2552 และดึงดูดผู้คนมารวมตัวทำกิจกรรมกันจำนวนมากในแต่ละปี เพื่อร่วมกันสร้าง "จุดสีชมพู" เป็นสัญลักษณ์แสดงการสนับสนุนการไม่แบ่งแยกความหลากหลายทางเพศ และการมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมในสิงคโปร์ แม้ว่าจะมีกระแสต่อต้านจากผู้ไม่เห็นด้วยในสังคมอยู่เนืองๆก็ตาม

หลังจากจัดกิจกรรมออนไลน์ได้เพียงอย่างเดียวในช่วงการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ในปีนี้ ประชาชนจำนวนมากหลั่งไหลออกมาชุมนุมเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันที่สวนสาธารณะใจกลางเมือง ซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียวในเมืองที่ได้รับอนุญาตให้มีการชุมนุมโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ผู้คนนับพันคนในชุดสีชมพู เดินโบกธงสีรุ้งไปตามถนนเพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานที่รวมตัวกันในสวนสาธารณะ มีการถือป้ายแสดงความคิดเห็นเพื่อการสนับสนุนสิทธิทางเพศและการสนับสนุนให้มีการยอมรับการเป็น  LGBTQ (เลสเบี้ยน, เกย์, ไบเซ็กชวล, ทรานส์เจนเดอร์, เควียร์) เฉกเช่นในพื้นที่อื่นๆทั่วโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมิถุนายนที่เป็นเดือน Pride Month หรือ เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มหลากหลายทางเพศ

นักวิจารณ์กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางด้านสิทธิทางเพศของสิงคโปร์นั้น ถือว่ายังล้าหลังหากเทียบกับความก้าวหน้าของประเทศอื่นๆในเอเชีย เช่น ไต้หวันและอินเดีย โดยปัจจัยหลักมาจากบรรดาผู้เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายที่มีแนวคิดแบบยุคอาณานิคมของอังกฤษ ที่ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายด้วยกัน และกลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีบทบาทในการคว่ำกฎหมายสิทธิทางเพศหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยยืนหยัดให้รักษากฎหมายเดิมไว้ แต่จะไม่บังคับใช้อย่างจริงจังในทางปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนกลุ่มเพศที่หลากหลายในสิงคโปร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางสังคมในหมู่คนรุ่นใหม่ และการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติจำนวนมาก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จักรภพ' จูงมือคู่ชีวิต พบ 'ทักษิณ' เชิญเป็นสักขีพยานจดทะเบียน 'สมรสเท่าเทียม'

นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายก และ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (3 มกราคม) ตนพร้อมด้วย นายสุไพรพล ช่วยชู หรือ ป๊อบ คู่ชีวิต เดินทางเข้าพบ ดร.ทักษิณ ชินวัต

'จักรภพ'ตีปี๊บ22 ม.ค.2568 วันที่LGBTQ+ ต้องจารึก

'จักรภพ' ชี้ 22 มค.68 เป็นวันประวัติศาสตร์โลก เมื่อประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก จวก 'ทรัมป์' ประกาศต่อต้าน LGBTQ+ เอาใจคนกลุ่มเดียว เชื่อ แค่เห่าดังแต่ไม่กัดจริง

'อิชิอิ'มั่นใจลูกทีมพร้อม ดวลสิงคโปร์ศึกอาเซียน มุ่งเก็บ3แต้มเพื่อเข้ารอบ

วันที่ 16 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ณ ห้องแถลงข่าวสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ ฝ่ายจัดการแข่งขันสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน จัดงานแถลงข่าวก่อนการแข่งขันฟุตบอล ASEAN Mitsubishi Electric Cup 2024 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอ ระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติสิงคโปร์

เอาแน่ 'คมนาคม' เร่งศึกษาค่าธรรมเนียมรถติด

“คมนาคม” เดินเครื่องศึกษามาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เปิดโมเดล 4 ประเทศ “อังกฤษ-สิงคโปร์-สวีเดน-อิตาลี” พบช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน สนข. เร่งศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ชี้ช่วยดึงดูดประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เชื่อมระบบฟีดเดอร์-ขนส่งหลัก หนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย