สหรัฐฯเผย มีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศ 21 ราย และยอดรวมกว่า 700 รายทั่วโลก

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (ซีดีซี) ได้รับรายงานยืนยันตัวเลขผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงทั่วโลกกว่า 700 ราย โดยในจำนวนนี้รวมตัวเลข 21 รายในสหรัฐอเมริกา พร้อมเตรียมเฝ้าระวังการระบาดภายในประเทศอย่างเต็มที่

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อดูอาการของโรคฝีดาษลิง ที่อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานนานาชาติเจนไน ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน (Photo by Arun SANKAR / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า รายงานฉบับใหม่ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ระบุว่า พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศ 21 ราย จากกลุ่มชายรักชายและผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยผู้ป่วยทุกรายอยู่ในระหว่างพักฟื้นหรือฟื้นตัวแล้ว และไม่มีผู้ป่วยรายใดเสียชีวิต

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือซีดีซี กำลังสืบสวนหาที่มาที่ไปของโรคจากผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อหาทางป้องกันและประเมินสถานการณ์การระบาดที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต

โรคฝีดาษลิงเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยและมีความรุนแรงน้อยกว่าไข้ทรพิษ ผู้ป่วยติดเชื้อจะมีผื่นลาม, เป็นไข้,  หนาวสั่น และปวดเมื่อย โดยทั่วไปแล้วฝีดาษลิงเป็นเพียงโรคเฉพาะถิ่นในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง แต่พอมีการพบรายงานผู้ป่วยในยุโรปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จำนวนประเทศที่ได้รับผลกระทบก็เพิ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยยอดปัจจุบันในวันศุกร์ มีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงทั่วโลกแล้วกว่า 700 ราย

แม้ว่าการระบาดใหญ่ครั้งล่าสุดอาจเชื่อมโยงกับเทศกาลเกย์ในยุโรป แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด เพราะปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อ มาจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นฝีดาษลิงแล้วเท่านั้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะหายเองได้หลังจากผื่นแผลที่ผิวหนังแห้งตกสะเก็ดและเกิดผิวหนังใหม่ขึ้นมา

ปัจจุบันสหรัฐฯมีวัคซีนป้องกัน 2 ชนิดที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ ACAM2000 และ JYNNEOS ซึ่งเดิมพัฒนาขึ้นเพื่อต่อต้านไข้ทรพิษ แม้ว่าไข้ทรพิษจะหายไปจากโลกนี้แล้วก็ตาม แต่สหรัฐฯ ยังคงรักษาวัคซีนไว้เป็นทุนสำรองทางยุทธศาสตร์ระดับชาติ เผื่อไว้ในกรณีที่ไวรัสไข้ทรพิษเหล่านี้อาจถูกนำไปผลิตเป็นอาวุธชีวภาพและกลับมาเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ

อีกทั้ง ซีดีซียังอนุญาตให้ใช้ยาต้านไวรัส 2 ชนิดที่ใช้รักษาไข้ทรพิษ ได้แก่ TPOXX และ Cidofovir เพื่อนำมาใช้รักษาโรคฝีดาษลิงได้ในกรณีจำเป็น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"

'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ

ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์