วอลมาร์ต (Walmart) บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ในสหรัฐและหลายประเทศทั่วโลก เตรียมเพิ่มบริการส่งมอบสินค้าผ่านการบินโดรน โดยตั้งเป้าขยายบริการทางอากาศไปยัง 6 รัฐของสหรัฐอเมริกาภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในการจัดส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ได้ถึง 1 ล้านชิ้นต่อปี
![32AX92N-highres](https://storage-wp.thaipost.net/2022/05/32AX92N-highres.jpg)
แฟ้มภาพ วอลมาร์ตนำส่งสินค้าชุดทดสอบหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้แก่ลูกค้าที่ทำการสั่งซื้อในช่วงการระบาดของโรคโควิด ในเมืองเอลพาโซ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 (Photo by MARIO TAMA / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า วอลมาร์ต ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกของสหรัฐฯ ได้ริเริ่มการจัดส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด้วยเครื่องบินโดรนมาตั้งแต่ช่วงการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา และพ้ฒนาช่องทางการจัดส่งนี้มาตลอดเพราะได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้า แม้ในช่วงเวลาที่สถานการณ์เข้าสู่ปกติแล้วก็ตาม เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษเพราะความรวดเร็วและทันสมัย
เดวิด กูกินา รองประธานอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมและระบบอัตโนมัติของวอลมาร์ต กล่าวในแถลงการณ์ว่า “วอลมาร์ตจะเพิ่มเครือข่ายการจัดส่งด้วยโดรนให้เป็น 34 แห่งภายในสิ้นปีนี้ พร้อมศักยภาพในการเข้าถึงครัวเรือน 4 ล้านครัวเรือนในสหรัฐฯ ทั้งในรัฐแอริโซนา, อาร์คันซอ, ฟลอริดา, เท็กซัส, ยูทาห์ และเวอร์จิเนีย ซึ่งจะทำให้เราสามารถส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ได้มากกว่า 1 ล้านชิ้นในหนึ่งปี"
ตามเงื่อนไขการซื้อที่ระบุในข้อมูลของวอลมาร์ต ระบุว่า ลูกค้าของวอลมาร์ตที่สั่งซื้อสินค้าระหว่างเวลา 08.00-20.00 น. และชำระค่าธรรมเนียมการจัดส่ง 3.99 เหรียญสหรัฐ (ราว 137 บาท) ต่อคำสั่งซื้อ จะสามารถรับบริการจัดส่งทางอากาศด้วยโดรนได้ภายในครึ่งชั่วโมง การจัดส่งแต่ละครั้งต้องมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 10 ปอนด์ (4.5 กิโลกรัม) และสามารถส่งผลิตภัณฑ์ได้กว่าหมื่นรายการ ตั้งแต่ยารักษาโรค, ผ้าอ้อม ไปจนถึงขนมปังฮอทดอก
วอลมาร์ตใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีจาก โดรนอัพ (DroneUp) ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมบริการการบินด้วยโดรน
ร้านค้าที่ร่วมรายการแต่ละแห่งจะมีศูนย์กลางการจัดส่งแบบใช้โดรน ร่วมกับทีมผู้บังคับการบินเพื่อใช้งานอากาศยานไร้คนขับที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ
วอลมาร์ต พยายามพัฒนาตัวเองเป็นอย่างมากเพื่อเป็นผู้นำในตลาดการจัดส่งแบบใช้โดรน ซึ่งเป็นภาคส่วนที่เป็นที่ต้องการจากหน่วยงานหลักหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา รวมถึง อเมซอน (Amazon), แอลฟาเบท (Alphabet) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล และ ยูพีเอส (UPS) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่ง
วอลมาร์ต สามารถแข่งขันในตลาดโดรนด้วยความได้เปรียบเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีร้านค้าปลีกของตน กว่า 4,700 แห่งทั่วประเทศ และมักจะตั้งอยู่ใกล้ๆกับย่านชุมชนไม่เกิน 10 ไมล์ (16 กิโลเมตร) ซึ่งอยู่ในวิถีทำงานของการขนส่งด้วยโดรนได้สะดวก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ผบ.ทอ.' แจงเหตุส่ง F-16 บินสกัดเครื่องบิน ใกล้ชายแดนไทย-เมียนมา
'ผบ.ทอ.' แจงเหตุส่ง F-16 บินสกัดกั้นเครื่องบินใกล้ชายแดนไทย-เมียนมา พบบินห่างระยะ 5 ไมล์ ชี้อธิปไตยเหนือน่านฟ้าที่ต้องเตือน ยันไม่เกี่ยวเหตุคำสั่งตัดไฟฟ้า
'ทรัมป์' พ่นพิษ! นายกฯอิ๊งค์ ตั้งทีมเฉพาะกิจ รับมือสหรัฐขึ้นกำแพงภาษีสินค้า
นายกฯแพทองธาร กำชับครม.รับมือ มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ 'โดนัลด์ ทรัมป์' หวั่นกระทบหนักต่อสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม
นักวิชาการ มธ. จับตา 'สหรัฐ-ไทย' ความเสี่ยงกับ 2 นโยบาย 'ทรัมป์'
นักวิชาการธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ผลพวงสงครามการค้าสหรัฐฯ ชี้ ‘ไทย’ ยังไม่ได้รับกระทบจาก โดยตรง เหตุ “ทรัมป์” พุ่งเป้าไปที่ประเทศปัญหา ‘ยาเสพติด-เข้าเมืองผิดกฎหมาย’ เป็นลำดับแรก แต่ในทางอ้อมการขึ้นภาษีสินค้าจีน 10% อาจทำให้คำสั่งการผลิตในไทยลดลงได้ แนะจับตาอีก 2 มาตรการที่ยังไม่ประกาศ “ขึ้นภาษีสินค้าจากประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ – มาตรการกีดกันการค้าจากสหรัฐฯ” หากใช้จริง ไทยอาจตกเป็นเป้าหมายด้วย
เสริมกำลังชายแดน-ตั้ง 'ฉก.โดรน' แง้มแผน ทบ. สกัดกั้นภัยคุกคาม
เป้าหมายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ขจัดปัญหาภัยคุกคามด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แรงงานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
เชฟรอนแถลงความสำเร็จการทดสอบนำโดรนมาใช้ในการผลิตปิโตรเลียม ครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการนำเทคโนโลยีโดรนมาประยุกต์เพื่อเพิ่มศักยภาพและความปลอดภัย
บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แถลงผลสำเร็จของการทดสอบความเป็นไปได้ (Proof of Concept) ของการนำอากาศยานไร้คนขับหรือ