น้ำท่วมหนักในบังกลาเทศและอินเดีย เสียชีวิตกว่า 60 ไร้บ้านหลักล้าน

น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบังกลาเทศ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 60 ราย ผู้คนนับล้านรอความช่วยเหลือ ท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้ายทั่วทั้งภูมิภาค

พื้นที่น้ำท่วมขนาดใหญ่หลังจากฝนตกหนักในเขตคัมปานิกาญจน์ ของบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม (Photo by AFP)

เอเอฟพีรายงานเหตุน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 20 ปี ของบังกลาเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า อุทกภัยครั้งใหญ่คุกคามผู้คนหลายล้านคนในบังกลาเทศที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำและลามไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

ฝนตกหนักในอินเดียช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงจนเขื่อนสำคัญแห่งหนึ่งในเขตสิเลฏของบังกลาเทศเกิดแตกร้าวเสียหายและน้ำท่วมทะลัก ส่งผลกระทบต่อผู้คนราว 2 ล้านคน น้ำท่วมหมู่บ้านหลายสิบแห่ง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย

อารีฟอุสมัน บุยยัน หัวหน้าศูนย์พยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วม กล่าวกับเอเอฟพีว่า น้ำท่วมหนักกินพื้นที่กว่า 70% ของเขตสิเลฏ และ 60% ในเขตสุนัมกาญจน์ ที่อยู่ใกล้เคียง ถือเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในภูมิภาค และหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้าหลังจากฝนตกหนักหยุดลง

ทางการบังกลาเทศได้เตรียมดำเนินการบรรเทาทุกข์สำหรับได้รับผลกระทบกว่า 2 ล้านคน ที่ไร้ถิ่นที่อยู่และขาดแคลนเสบียงอาหาร

โมซิบูร์ เราะห์มาน หัวหน้าเขตสิเลฏ กล่าวว่า เขื่อนที่เสียหายยังไม่สามารถซ่อมแซมได้เพราะกระแสน้ำยังคงมีปริมาณมาก ต้องรออีกสักระยะจนกว่าน้ำจะลดลง

ด้านอินเดีย ในรัฐอัสสัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้เสียชีวิตกว่า 50 รายจากเหตุน้ำท่วม, ดินถล่ม และพายุฝนฟ้าคะนอง และจากข้อมูลของหน่วยงานจัดการภัยพิบัติแห่งรัฐอัสสัม พบว่าเกือบ 3,250 หมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่ผู้อพยพหนีน้ำท่วมไปอยู่ในศูนย์บรรเทาทุกข์มีมากกว่า 92,000 คน

กองกำลังกู้ภัยของรัฐซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพ กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือผู้คนจากหมู่บ้านต่างๆ และแจกจ่ายอาหาร, น้ำดื่มสะอาด และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้แก่ผู้ประสบภัย.

เอเอฟพีรายงานเหตุน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 20 ปี ของบังกลาเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า อุทกภัยครั้งใหญ่คุกคามผู้คนหลายล้านคนในบังกลาเทศที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำและลามไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

ฝนตกหนักในอินเดียช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงจนเขื่อนสำคัญแห่งหนึ่งในเขตสิเลฏของบังกลาเทศเกิดแตกร้าวเสียหายและน้ำท่วมทะลัก ส่งผลกระทบต่อผู้คนราว 2 ล้านคน น้ำท่วมหมู่บ้านหลายสิบแห่ง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย

อารีฟอุสมัน บุยยัน หัวหน้าศูนย์พยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วม กล่าวกับเอเอฟพีว่า น้ำท่วมหนักกินพื้นที่กว่า 70% ของเขตสิเลฏ และ 60% ในเขตสุนัมกาญจน์ ที่อยู่ใกล้เคียง ถือเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในภูมิภาค และหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้าหลังจากฝนตกหนักหยุดลง

ทางการบังกลาเทศได้เตรียมดำเนินการบรรเทาทุกข์สำหรับได้รับผลกระทบกว่า 2 ล้านคน ที่ไร้ถิ่นที่อยู่และขาดแคลนเสบียงอาหาร

โมซิบูร์ เราะห์มาน หัวหน้าเขตสิเลฏ กล่าวว่า เขื่อนที่เสียหายยังไม่สามารถซ่อมแซมได้เพราะกระแสน้ำยังคงมีปริมาณมาก ต้องรออีกสักระยะจนกว่าน้ำจะลดลง

ด้านอินเดีย ในรัฐอัสสัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้เสียชีวิตกว่า 50 รายจากเหตุน้ำท่วม, ดินถล่ม และพายุฝนฟ้าคะนอง และจากข้อมูลของหน่วยงานจัดการภัยพิบัติแห่งรัฐอัสสัม พบว่าเกือบ 3,250 หมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่ผู้อพยพหนีน้ำท่วมไปอยู่ในศูนย์บรรเทาทุกข์มีมากกว่า 92,000 คน

กองกำลังกู้ภัยของรัฐซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพ กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือผู้คนจากหมู่บ้านต่างๆ และแจกจ่ายอาหาร, น้ำดื่มสะอาด และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้แก่ผู้ประสบภัย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67

กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า