แอนโธนี อัลบานีส โค่นสกอตต์ มอร์ริสัน คว้าเก้าอี้นายกฯออสเตรเลียคนใหม่

พรรคแรงงานของออสเตรเลียต้องยุติบทบาทการปกครองแบบอนุรักษ์นิยมมานานเกือบทศวรรษ หลังจากรัฐบาลเดิมโดยสกอตต์ มอร์ริสัน พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งล่าสุดต่อแอนโธนี อัลบานีส หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนโยบายการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการถ่วงดุลอำนาจ

แอนโธนี อัลบานีส ผู้นำฝ่ายค้านของออสเตรเลีย ขณะพูดคุยกับผู้สนับสนุนหลังชนะการเลือกตั้งทั่วไปปี 2565 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม (Photo by Wendell TEODORO / AFP)

เอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า แอนโธนี อัลบานีส หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังโค่นสกอตต์ มอร์ริสัน เจ้าของเก้าอี้คนเดิม ยุติบทบาทการครอบครองอำนาจยาวนานกว่าทศวรรษของพรรคแรงงานอนุรักษ์นิยม

ผลการสำรวจบางส่วนแสดงให้เห็นว่าแอนโธนี อัลบานีส ได้รับการเทคะแนนจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและจากเมืองที่มั่งคั่งหลายเมือง รวมถึงคะแนนเสียงจากกลุ่มรณรงค์ด้านนโยบายความเสมอภาคทางเพศและการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อัลบานีส กล่าวหลังทราบผลการเลือกตั้งในชัยชนะของเขาว่า เขาต้องการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งและยุติสงครามภูมิอากาศ และให้คำมั่นว่าจะให้การรับรองชาวอะบอริจินพื้นเมืองตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริต

ด้านอดีตนายกรัฐมนตรีมอร์ริสัน กล่าวว่า “ผมได้คุยกับผู้นำฝ่ายค้านและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แอนโธนี อัลบานีสแล้ว และผมขอแสดงความยินดีกับเขาด้วยกับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ อิ๊งค์ให้ความมั่นใจคนกรุงไม่ซ้ำรอยยุคอาปูแน่นอน

นายกฯ ตรวจบริหารจัดการน้ำ บอกคนกรุงไม่ต้องกลุ้มใจ หลังกรมชลประทาน การันตีปีนี้น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯแน่นอน ยันสถานการณ์น้ำไม่เยอะเท่าปี 54

รัฐบาลปลื้ม 'นายกฯอิ๊งค์' เรตติ้งอันดับ 1 กำลังใจเดินหน้าทำงานเพื่อปชช.

‘จิราพร’ ปลื้มผลโพล 'นายกฯอิ๊งค์' นำโด่งที่ 1 เป็นกำลังใจให้คนทำงาน ย้ำรัฐบาลเดินหน้าต่อ ทำนโยบายยกคุณภาพชีวิตประชาชน

เกมยื้อแก้ 'รัฐธรรมนูญ' ' อิ๊งค์' หนักคอพาดเขียง

ประเด็นการเมืองร้อนแทรกขึ้นมาท่ามกลางปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และเศรษฐกิจ หลังพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ใจตรงกันยื่นแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยมีเป้าหมายคือลดอำนาจการตรวจสอบนักการเมืองผ่านองค์กรอิสระ อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. และ กกต.