รัฐบาลทหารเมียนมา จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าประเทศ สามารถยื่นขอวีซ่าได้อีกครั้ง หลังจากหยุดพักไปกว่า 2 ปี แต่กลุ่มนักเคลื่อนไหวต่างเรียกร้องนักท่องเที่ยวต่างชาติให้พิจารณาดีๆ
แฟ้มภาพ ผู้คนรวมตัวสวดมนต์ที่เจดีย์ชเวดากองในย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2563 (Photo by Mladen ANTONOV / AFP)
เอเอฟพีรายงานจากกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า เมียนมาปิดพรมแดนประเทศสำหรับการท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการระบาดไวรัสโคโรนา อีกทั้งยังโดดเดี่ยวตัวเองจากเหตุกองทัพทหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของอองซานซูจีในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่และการปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างเหี้ยมโหดโดยรัฐบาลทหารในปัจจุบัน
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า หลังจากสถานการณ์โรคระบาดดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความสงบภายในประเทศที่เริ่มคงที่ รัฐบาลทหารเมียนมาจึงเห็นควรให้มีการเปิดประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวเป็นลำดับแรก โดยการยื่นขอวีซ่าอิเลคทรอนิคส์สำหรับนักท่องเที่ยว จะสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีกำหนดวันที่แน่ชัดว่านักท่องเที่ยวกลุ่มแรกจะสามารถเข้าประเทศได้เมื่อใด
อย่างไรก็ดี บรรดากลุ่มนักเคลื่อนไหวต่างออกมาเตือนว่า กองทัพทหารมีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่มากมายในระบบเศรษฐกิจของเมียนมา เช่น เหมือง, ธนาคาร, ปิโตรเลียม, เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว ซึ่งสื่อได้ว่า เม็ดเงินที่จะได้รับจากนักท่องเที่ยว มีแนวโน้มว่าจะวิ่งเข้าสู่กระเป๋าเงินของรัฐบาลเผด็จการทหารเช่นกัน
“แม้ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะหลีกเลี่ยงการใช้บริการโรงแรมและการคมนาคมขนส่งที่เป็นของกองทัพทหารเมียนมาและพรรคพวก แต่พวกเขาก็ยังให้เงินทุนแก่รัฐบาลทหารผ่านค่าธรรมเนียมวีซ่า, การซื้อประกัน และภาษี ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องให้นักท่องเที่ยวพิจารณาให้ดีหากจะเดินทางมาหาความสุขในประเทศแห่งนี้” กลุ่มนักเคลื่อนไหวกล่าว
ภายหลังการปกครองโดยทหารมานานหลายทศวรรษ หลังจากนั้น เมียนมาเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี 2554 ก่อนเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเพื่อรับนักท่องเที่ยว และกลายเป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทางที่แสวงหาจุดหมายปลายทางที่แปลกใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยเมียนมามีสถิติผู้ติดเชื้อสูงสุด 40,000 รายต่อวันในปีที่แล้ว และมีผู้เสียชีวิตรวมเกือบ 20,000 ราย
การปะทะกันระหว่างกลุ่มต่อต้านรัฐประหารและกองกำลังรักษาความมั่นคงภายหลังการยึดอำนาจของกองทัพทหาร ทั้งในเมืองหลักอย่างย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,800 คน และกว่า 13,000 คนถูกจับกุมตั้งแต่เกิดรัฐประหาร เป็นสาเหตุอีกประการที่บั่นทอนเศรษฐกิจในประเทศด้วยเช่นกัน โดยบริษัทต่างชาติถอนธุรกิจออกจากประเทศไปจำนวนมาก
ด้านเที่ยวบินพาณิชย์สำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ กลับมาให้บริการแล้วในเดือนเมษายน โดยผู้เดินทางเข้าประเทศต้องเข้ารับการตรวจโควิด-19 เมื่อเดินทางมาถึง แต่ไม่ต้องกักตัวอีกต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดิ้นหนัก! 'โรม' ชี้ 'พรรคประชาชนพม่า' เป็นเฟกนิวส์ ลั่นรักษาผลประโยชน์คนไทยมาตลอด
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน จัดแถลง Policy Watch ในเรื่องประเทศไทยควรทำอย่างไรกับปัญหาเมียนมา
'ดอยอินทนนท์' หนาว! เริ่มเปิดเส้นทางชมธรรมชาติ
นายเกรียงไกร ไชยพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันนี้อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กำหนดจัดกิจกรรมเปิดการท่องเที่ยว
19 เหยื่อค้ามนุษย์ วอนนายกฯช่วยด่วน ถูกกักขังทรมานอยู่ในแหล่งอาชญากรรมริมน้ำเมยฝั่งพม่า
ความคืบหน้ากรณีที่เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ (Civil Society Network for Victim Assistance in Human Trafficking) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย และหน่วยงานต่างๆของไทย
จี้ไทยเร่งประสานช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ 110 รายในเมืองเมียวดี
เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย และหน่วยงานต่างๆของไทย อ
ตามจับรถ 2 คัน ขนแรงงานโรฮิงญาทิ้งกลางป่า ดับ 3 ศพ สาหัส 10 คน
จากกรณีมีพระสงฆ์วัดเสกขาราม พบชาวโรฮิงญาจำนวน 26 คน ถูกแก๊งค้าแรงงานมนุษย์ ลักลอบขนมากับรถกระบะตู้ทึบ ระหว่างทางขาดอากาศหายใจมีอาการอ่อนเพลีย ชักดิ้นชักงอ ทุรนทุรายใกล้ตาย คนขับได้นำชาวโรงฮิงยาทั้งหมดเข้าไปทิ้งนอนรอความตายในป่าละเมาข้างเชิงเขาวัดเสกขาราม