เกิดเหตุยิงกันในวันแรงงาน ระหว่างการเดินขบวนประท้วงโดยสหภาพแรงงานในกรุงซานติอาโก เมืองหลวงของชิลี เนื่องจากผู้ประท้วงบางคนสร้างเครื่องกีดขวาง รวมทั้งบุกเข้าไปในอาคารพาณิชย์ และมีเรื่องวิวาทกับผู้ค้าขาย
ผู้ประท้วงคนหนึ่ง ขว้างก้อนหินใส่อาคารพาณิชย์ที่ถูกจุดไฟเผาระหว่างการปะทะกับตำรวจปราบจลาจล ระหว่างการเดินขบวนในวันแรงงานที่กรุงซานติอาโก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม (Photo by Martin BERNETTI / AFP)
เอเอฟพีรายงานเหตุวุ่นวายในการเดินขบวนเนื่องในวันแรงงานที่ชิลี จนเป็นเหตุให้มีผู้ถูกยิง 3 ราย เมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า สหภาพแรงงานในกรุงซานติอาโก เมืองหลวงของชิลี จัดการเดินขบวนประท้วงรัฐบาลเนื่องในวันแรงงาน ก่อนเหตุการณ์บานปลายและมีการใช้ความรุนแรง
เจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิง 3 คน และมีผู้ถูกจับกุม 2 คนเป็นชาวต่างชาติ ในข้อหายิงปืนจากการวิวาทกันท่ามกลางการเดินขบวน
“มีการปะทะกันระหว่างผู้เดินขบวนประท้วงบางคนกับพ่อค้าริมถนน และมีการใช้อาวุธปืนยิงใส่กัน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 2 คน และชายคนที่ 3 ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืน” เอนริเก มอนราส ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกล่าว และเสริมว่า “เพื่อป้องกันเหตุบานปลายรุนแรง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจำเป็นต้องใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงและแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม”
ประธานาธิบดีกาเบรียล บอริก ของชิลี ประณามการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยกล่าวว่า "พวกเขากำลังทำให้ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ในฐานะผู้นำ ผมไม่สามารถอนุญาตให้แก๊งอาชญากรเข้ายึดครองถนนในประเทศแห่งนี้ได้"
ขณะเดียวกัน อีกฟากฝั่งหนึ่งของซานติอาโก การเดินขบวนในวันแรงงานอันเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันทุกปี และจัดโดยสหภาพแรงงานกลาง (ซียูที) กลับผ่านไปโดยไม่มีเหตุวุ่นวายใดๆ มีแต่การเดินขบวนอย่างสงบ และการวมตัวคนชนชั้นแรงงานที่ออกมาโบกธงชาติที่ บากีดาโน พลาซา สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในเมืองซานติอาโก
“พวกเรามีความสุข มันเป็นวันที่พิเศษมากหลังจากการถูกกักขังโดยโควิด เป็นเวลากว่า 2 ปี เราออกมาในวันนี้ เพื่อยกย่องการทำงานของเพื่อนร่วมงานในหลายภาคส่วน เช่น พนักงานด้านสุขภาพ, ด้านการพาณิชย์ และการขนส่ง ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการต่อสู้กับการระบาดใหญ่ที่ผ่านมา” เดวิด อคุนญา ประธานสหภาพแรงงานกลาง กล่าว
ค่าแรงขั้นต่ำในชิลีอยู่ที่ 400,000 เปโซชิลี (ราว 16,100 บาท) ต่อเดือน และประธานาธิบดีกาเบรียล บอริก ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถผลักดันให้ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 เปโซ (ราว 20,115 บาท) ต่อเดือน ให้ได้ภายในปี 2569.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บี้ประท้วง 'เมียนมา' ทุกระดับ ปล่อยตัวคนไทย คืนเรือ-ชดใช้
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
ประชาชนนับพันประท้วงต่อต้านความรุนแรงของตำรวจในเมืองหลวงของโปรตุเกส
การเสียชีวิตของชายผิวดำคนหนึ่งหลังปฏิบัติการของตำรวจ ทำให้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส เมื่อ
'ปธ.วิปรัฐบาล' ลั่นไม่มีหน้าที่ตามจับ 'พล.อ.พิศาล' โวย 'โรม' ปั่นกระทู้ปลุกแตกแยก
'วิสุทธิ์' บอกไม่รู้ตอนนี้ 'พิศาล' อยู่ไหน วิปรัฐบาลไม่มีหน้าที่ตามจับใคร ยันไม่ได้ปกป้อง แต่ไม่มีใครใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ข้องใจ 'โรม' ตั้งกระทู้ปั่นในสภาฯ เพื่ออะไร หวั่นจุดชนวนแตกแยก
นักเรียนขอนแก่น บุกประท้วงเรียกร้องย้ายผอ.โรงเรียน พบพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ว่าการอำเภอชุมแพ จ.ขอนแก่น ได้มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมโรงเรียนชื่อดังใน อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น กว่า 200 คนรวมตัวกันเดินทางมาประท้วงร้องเรียน ให้ตรวจสอบและย้ายผู้อำนวยการโรงเรียน
'ไทยออยล์' เผย 'UJV' ผู้รับเหมาหลักยังไม่จ่ายค่าจ้างให้กลุ่มแรงงานที่ประท้วง
จากกรณีกลุ่มผู้ใช้แรงงานรวมตัวชุมนุมบริเวณริมถนนสุขุมวิท หน้าโรงกลั่นไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาค
กลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวนหนึ่งไม่ได้รับค่าจ้างตามกำหนด รวมตัวประท้วงบริเวณริมถนนสุขุมวิท หน้าโรงกลั่นไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ตามที่มีข่าวปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ว่ามีกลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวนหนึ่งไม่ได้รับค่าจ้างตามกำหนด รวมตัวประท้วงบริเวณริมถนนสุขุมวิท หน้าโรงกลั่นไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จากการตรวจสอบของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) พบว่า