เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศเคอร์ฟิวในเมืองรามบุคคานะของประเทศศรีลังกา หลังมีผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลถูกสังหารเสียชีวิต 1 รายและบาดเจ็บอีกหลายคน จนนานาชาติต้องออกมาประณาม ขณะที่ประเทศกำลังเผชิญวิกฤตหนักจนต้องขอเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ
นักเคลื่อนไหวและผู้สนับสนุนของพรรคชนาถะ วิมุกธี เปรามุนา ตะโกนคำขวัญต่อต้านรัฐบาลระหว่างการประท้วงที่เมืองรามบุคคานะ เมื่อวันที่ 20 เมษายน หนึ่งวันหลังจากตำรวจสลายการชุมนุมและยิงกระสุนจริงใส่กลุ่มผู้ประท้วง จนมีผู้เสียชีวิต (Photo by ISHARA S. KODIKARA / AFP)
เอเอฟพีรายงานสถานการณ์การประท้วงในศรีลังกาเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน 2565 กล่าวว่า สืบเนื่องจากภาวะขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิง, ไฟฟ้า, ยาและอาหารมาอย่างยาวนาน ได้จุดชนวนให้ประชาชนทั่วประเทศเกิดความไม่พอใจจนลุกฮือออกมาประท้วงขับไล่รัฐบาลของประธานาธิบดีโกตาเบยา ราชปักษา ที่ยังไม่ยอมลงจากตำแหน่งแม้จะล้มเหลวในการบริหารประเทศท่ามกลางวิกฤตสาหัสทางการเงินจนต้องพยายามขอกู้จากไอเอ็มเอฟ
การประท้วงใหญ่ขยายตัวไปทั่วประเทศ รวมถึงการปิดเส้นทางถนนและทางรถไฟสายสำคัญเมื่อวันอังคาร สถานการณ์ที่ตึงเครียดของการประท้วงในเมืองรามบุคคานะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโคลัมโบ ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันเป็นระยะๆระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ควบคุมดูแลความสงบ จนกลายเป็นการสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตาและกระสุนจริงหลายนัด และทำให้ชายวัย 42 ปีคนหนึ่งเสียชีวิต ขณะที่กว่า 30 คนได้รับบาดเจ็บจากการปะทะ
เหตุการณ์ทำท่าว่าจะบานปลายเมื่อผู้ประท้วงเริ่มโกรธแค้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงประกาศเคอร์ฟิวเมืองรามบุคคานะในวันพุธ เพื่อควบคุมสถานการณ์ และเคลียร์พื้นที่ ซึ่งพบเห็นกระสุนที่ถูกยิงตกหล่นเกลื่อนกลาด
ประธานาธิบดีโกตาเบยา ราชปักษา กล่าวว่าเขาเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการกระทำรุนแรงของตำรวจในครั้งนี้ และให้สัญญาว่าจะไม่ขัดขวางสิทธิของประชาชนในการประท้วงอย่างสงบต่อรัฐบาลของเขา รวมทั้งจะเปิดการสอบสวนให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างเป็นกลางและโปร่งใส
แม้ราชปักษาจะรู้อยู่เต็มอกว่า เขาคือต้นเหตุแห่งความโกรธแค้นของประชาชน แต่เขาก็ยังปฏิเสธที่จะรับข้อเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งผู้นำประเทศ และพยายามแก้ปัญหาด้วยการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาเพื่อนำพาประเทศให้พ้นจากวิกฤต
เหตุการณ์ในวันอังคารถือเป็นการปะทะกันที่ร้ายแรงครั้งแรกนับตั้งแต่การประท้วงต่อต้านรัฐบาลศรีลังกาเริ่มขึ้นในเดือนนี้ จนทำให้มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษออกมาประณามผ่านนักการทูตของตน
สัปดาห์นี้ ศรีลังกาจะเปิดการเจรจากับกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ในกรุงวอชิงตัน เพื่อนำเงินทุนมาแก้วิกฤตหนี้ระหว่างประเทศที่ยังติดค้างชำระกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.7 ล้านล้านบาท) และเพื่อพยุงเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ท่านทูตพี่นิค' แฉปางช้างทวงคืนช้างไทยที่มอบให้ศรีลังกา เพื่อหาเงินเข้ามูลนิธิ
นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความปมดราม่
อัญเชิญองค์ 'ครูบาเจ้าศรีวิชัย' ประกาศเกียรติคุณ เผยแผ่พุทธศาสนา 'ศรีลังกา'
'มูลนิธิอาจารย์วารินทร์' ร่วมกับคณะธรรมทูต อัญเชิญองค์ 'ครูบาเจ้าศรีวิชัย' พร้อมประกาศเกียรติคุณเผยแผ่พุทธศาสนาประเทศศรีลังกา หนุนเสนอชื่อบุคคลสำคัญของโลก
นยงรจตกม! 'สมชาย' หวั่นวิกฤต 'ต้มยำกบ' จี้เลิกละเลงแจกเงินดิจิทัล5แสนล้าน
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา(สว.)โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ร่วมสกัดวิกฤติเศรษฐกิจ”ต้มยำกบ“
’พิธา’ ไม่เห็นด้วย ‘ทักษิณ’ ระบุไทยวิกฤตหนักกว่าต้มยำกุ้ง
’พิธา’ ไม่เห็นด้วย ‘ทักษิณ’ บอก ขณะนี้วิกฤตหนักกว่าต้มยำกุ้ง หวั่นรัฐบาลจ่ายยาผิด เตือนอย่ามองแค่ GDP จนละเลยความเหลื่อมล้ำ
หนุนภาครัฐ-เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในศรีลังกา
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ย้ำ “ประเทศไทยเปิดแล้ว” พร้อมรับการลงทุน เดินหน้า ส่งเสริมศักยภ