ศรีลังกากระอัก ติดหนี้ต่างประเทศมหาศาล ประชาชนระทมถ้วนหน้า

ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศ 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศ และการชุมนุมประท้วงที่แผ่ขยายอย่างเป็นวงกว้างเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก

ประชาชนขับขี่พาหนะของตนไปจอดต่อแถวเพื่อเติมน้ำมันที่สถานีบริการน้ำมันซีลอน ปิโตรเลียม ในกรุงโคลัมโบของศรีลังกา เมื่อวันที่ 12 เมษายน ท่ามกลางวิกฤติหนี้ต่างประเทศกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนไม่สามารถนำเข้าเชื้อเพลิง, อาหาร, ยารักษาโรค และสินค้าที่จำเป็นอื่นๆ ได้ (Photo by Ishara S. KODIKARA / AFP)

เอเอฟพีรายงานวิกฤตเศรษฐกิจและสถานการณ์ความวุ่นวายในศรีลังกา เมื่อวันอังคารที่ 12 เมษายน 2565 กล่าวว่า ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.7 ล้านล้านบาท) รวมถึงภาระผูกพันทางการเงินในหลายภาคส่วนและเงินกู้ยืมจากรัฐบาลต่างประเทศ พร้อมเดินหน้าขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ

กระทรวงการคลังของศรีลังกากล่าวว่า “รัฐบาลกำลังใช้มาตรการฉุกเฉิน ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย เพื่อป้องกันไม่ให้ฐานะการเงินของประเทศตกต่ำลงไปมากกว่านี้”

ศรีลังกากำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 ปัญหาหนักจากการขาดสกุลเงินต่างประเทศอย่างเฉียบพลัน นำมาซึ่งปัญหาการขาดแคลนอาหารและเชื้อเพลิง  ประกอบกับไฟฟ้าดับที่ยาวนานในแต่ละวัน ทั้งหมดล้วนนำความทุกข์ทรมานอย่างกว้างขวางมาสู่ประชาชน 22 ล้านคนในประเทศ จนกลายมาเป็นความโกรธที่ปะทุขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา การเดินขบวนไปยังบ้านของผู้นำรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้ลาออก กลายเป็นการปะทะกันของประชาชนกับกองกำลังความมั่นคงที่สลายกลุ่มผู้ประท้วงด้วยแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง และต่อเนื่องบานปลายไปทั่วประเทศ

รัฐบาลของประธานาธิบดีโกตาเบยา ราชปักษา ที่ยังไม่ยอมลงจากตำแหน่ง พยายามแก้วิกฤตเศรษฐกิจที่อึมครึมด้วยการสั่งห้ามการนำเข้าทุกประเภทเพื่อสงวนเงินสำรองต่างประเทศไว้ใช้ชำระหนี้ผิดนัด

จากการประมาณของกระทรวงการคลัง แสดงให้เห็นว่าศรีลังกาต้องใช้เงินกว่า 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อชำระหนี้ในปีนี้ ขณะที่เงินสำรองต่างประเทศคงเหลือเพียง 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตอนสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีอินเดีย, จีน และญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่

การห้ามการนำเข้าทุกประเภทเป็นการตอกย้ำสภาวะพังพินาศในการใช้ชีวิตของประชาชน เชื้อเพลิง, ไฟฟ้า, อาหาร และสิ่งของที่จำเป็นยังคงขาดแคลนต่อเนื่อง โดยในแต่ละวันมีการเข้าแถวยาวทั่วประเทศเพื่อซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง, แก๊ส และน้ำมันก๊าดสำหรับเตาประกอบอาหาร ปัญหาล่าสุดที่ต้องเผชิญคือ การขาดแคลนยารักษาโรคที่ไม่สามารถนำเข้าได้เนื่องจากนโยบายห้ามนำเข้าและการขาดแคลนเงิน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ระบบสาธารณสุขล่มสลายได้ในไม่ช้า ทั้งหมดล้วนสร้างความไม่พอใจอย่างแพร่หลายต่อรัฐบาล และการชุมนุมประท้วงทั่วประเทศจะยังคงมีต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ท่านทูตพี่นิค' แฉปางช้างทวงคืนช้างไทยที่มอบให้ศรีลังกา เพื่อหาเงินเข้ามูลนิธิ

นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความปมดราม่

เชียงใหม่ยังวิกฤต! มวลน้ำป่าทะลักลงแม่ปิงค่ำนี้ เพิ่มสูงส่อทุบสถิติใหม่

สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงวิกฤตต่อเนื่อง แม้ระดับน้ำปิงที่จุด p1 จะขึ้นสูงสุดช่วงตีสองที่ผ่านมา 4.81 เมตร

อัญเชิญองค์ 'ครูบาเจ้าศรีวิชัย' ประกาศเกียรติคุณ เผยแผ่พุทธศาสนา 'ศรีลังกา'

'มูลนิธิอาจารย์วารินทร์' ร่วมกับคณะธรรมทูต อัญเชิญองค์ 'ครูบาเจ้าศรีวิชัย' พร้อมประกาศเกียรติคุณเผยแผ่พุทธศาสนาประเทศศรีลังกา หนุนเสนอชื่อบุคคลสำคัญของโลก

ตราดระทม! จมบาดาล 1 เมตร เดือดร้อน 3 พันคน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนรักษ์คลองบางพระ ชุมชนวัดโบสถ์ ชุมชนกิจสวัสดิ์ ถนนเทศบาล 3, 5 ถนนพัฒนาการปลายคลอง ถนนกิตติพัฒนา ซอยสืบแสวงทรัพย์ ซอยร่มไทร ซอยสุเหล่าแขกปลายคลอง ซอยสมจริง ซอยศาลเจ้าแม่ตาเหล ยังคงทรงตัว

ศาลฯพิพากษาคดี กปปส. จำคุก 14 ราย ยกฟ้อง 19 ราย รอลงอาญา 4 ราย

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดโทษจำคุก ‘สุเทพ’ เเกนนำ กปปส.เพียงปีเดียว ไม่รอลงอาญา คดีนำมวลชัตดาวน์กรุงเทพ ปี 57 ส่วนพวกแกนนำอีก 14 ราย รับโทษหลั่นกันไป ไม่รอลงอาญาอยู่ระหว่างลุ้นประกันตัว รอลงอาญา 4 ราย ส่วนที่เหลืออีก 19 รายยกฟ้อง