ตำรวจอินโดนีเซียยิงแก๊สน้ำตา สลายการชุมนุมนอกรัฐสภา

ตำรวจอินโดนีเซียยิงแก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสลายม็อบนักศึกษามหาวิทยาลัยกว่า 2,000 คนที่ออกมาประท้วงปัญหาราคาน้ำมันและอาหารที่พุ่งสูงขึ้น และประเด็นทางการเมืองของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด

ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่บรรดานักศึกษาระหว่างการชุมนุมต่อต้านความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นการขยายเวลาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในกรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 11 เมษายน (Photo by ADEK BERRY / AFP)

เอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานสถานการณ์การปะทะกันระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมในกรุงจาการ์ตา เมื่อวันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565 กล่าวว่า การชุมนุมประท้วงของบรรดานักศึกษามหาวิทยาลัยบานปลายเป็นเหตุวุ่นวายและการใช้ความรุนแรง หลังผู้ประท้วงขว้างปาขวดและหินใส่ตำรวจเพื่อเปิดทางให้สามารถบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภา และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงในการตอบโต้เพื่อสลายการชุมนุม ทำให้ผู้ประท้วงจำนวนมากวิ่งหนีด้วยความโกลาหลออกจากที่เกิดเหตุนอกรัฐสภา

มีการชุมนุมประท้วงในหลายพื้นที่ทั่วประเทศอินโดนีเซียในวันจันทร์ รวมถึงในจังหวัดสุลาเวสีใต้, ชวาตะวันตก และจาการ์ตา ส่วนการชุมนุมนอกรัฐสภาในครั้งนี้ เริ่มจากการรวมตัวของนักศึกษาหลายร้อยคนที่สวมเสื้อแจ็กเก็ตสะท้อนแสง แล้วเดินขบวนไปยังรัฐสภาเพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้แก้ปัญหาต้นทุนพลังงานและอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงประเด็นทางการเมืองเกี่ยวกับประธานาธิบดีที่ต้องการจะอยู่ในตำแหน่งเกิน 2 สมัย หลังมีข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วเป็นเวลาหลายสัปดาห์เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศในประเด็นดังกล่าว

เมื่อวันอาทิตย์ ประธานาธิบดีโจโก วิโดโดพยายามปฏิเสธข้อมูลที่หลุดออกมาว่า มีแผนการสมคบคิดเพื่อให้เขาครองอำนาจบริหารได้นานขึ้น มีการผลักดันอย่างโจ่งแจ้งจากนักการเมืองผู้มีอิทธิพลบางคน ที่ออกมาสนับสนุนแนวคิดในการขยายวาระดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเพื่อให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้มากกว่า 2 สมัย รวมทั้งความพยายามในการเลื่อนการเลือกตั้งในปี 2567 ออกไปจากกำหนดเดิม

แนวคิดดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่สาธารณชนว่าอาจเป็นภัยคุกคามที่มีต่อการปฏิรูปประชาธิปไตย

“เห็นได้ชัดเจนว่า พวกชนชั้นสูงกำลังทำทุกอย่างให้มีการเลื่อนการเลือกตั้ง และนั่นคือสิ่งที่ทำร้ายรัฐธรรมนูญ” มูฮัมหมัด ลุตฟี นักศึกษาที่เข้าร่วมการประท้วงกล่าว

ตามประวัติศาสตร์ของประเทศระบอบประชาธิปไตยที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยมักจะเป็นแนวหน้าในการพยายามปกป้องผลประโยชน์ทางประชาธิปไตยของประเทศ เห็นได้ชัดจากเหตุการณ์เดินขบวนบนท้องถนนในปี 2541 ซึ่งเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่ช่วยให้เกิดการโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต

ถึงแม้วิโดโดจะออกมาปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวเป็นครั้งที่สองในรอบสัปดาห์แล้ว และยืนยันว่าจะยังคงมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตามแผนที่วางไว้ แต่ดูเหมือนประชาชนจะไม่ไว้วางใจ เห็นได้จากผลสำรวจความคิดเห็นของชาวอินโดนีเซียล่าสุด กว่า 70% ที่ไม่ยอมรับให้มีการขยายเวลาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี อีกทั้งสภาพเศรษกิจที่ย่ำแย่จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนาและการสู้รบในยูเครน ทำให้ประชาชนออกมาชุมนุมเรียกร้องเพื่อปากท้องและประชาธิปไตยในครั้งนี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พีระพันธุ์' วอนม็อบรถบรรทุก ขอให้ใจเย็นรออีกหน่อย จะได้ใช้น้ำมันราคาถูก

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าวถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงครึ่งหลังของปี 2567

ระดมกำลังทุกหน่วย ปูพรมตรวจค้น 183 จุด กวาดล้างอิทธิพล ยึดของกลางอื้อ

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. สั่งการ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธ์ุเพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี พล.ต.ท.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ระดมกำลังตำรวจสอบสวนกลาง ,กองบัญชาการตำรวจนครบาล ,

'โจ๊ก' เผย 'บิ๊กเต่า' ขอเลื่อนนัดไต่สวนมูลฟ้องคดีหมิ่นประมาท เป็นครั้งที่ 2

ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องของโจทย์เป็นครั้งที่ 2 ในคดีที่พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ยื่นฟ้องพล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก. ข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา

'บิ๊กต่อ-มาดามกุ๊กไก่' ออกงานคู่ครั้งแรก

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร. พร้อมด้วยคุณนิภาพรรณ สุขวิมล นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษาของสมาคมแม่บ้านตำรวจ ประจำปี 2567 ณ ห้องแจ้งยอ

'เอก-ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ' เผย 'บิ๊กโจ๊ก' นัดพบหลายครั้ง เล่าถึงคนอื่นนับ 10 คน

พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ก.ตร. ผู้ทรงคุณวุฒิ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ตั้งแต่มีกรณีที่ ผบ.ตร.และรอง ผบ.ตร.ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทั้ง

'ทักษิณ' บอกวุ่นวาย ปมบิ๊กตำรวจขัดแย้ง ร้องโอ๊ยทันทีหลังเจอถามร่วมจัดโผทหารหรือไม่

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ระหว่างพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ