ทางการศรีลังกาเริ่มวางกำลังทหารตามสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศเมื่อวันอังคาร เพื่อควบคุมสถานการณ์วุ่นวายเนื่องจากวิกฤติขาดแคลนเชื้อเพลิง ที่ทำให้ชาวบ้านก่อม็อบปิดถนนและการต่อแถวยาวนานเพื่อรอซื้อน้ำมันทำให้คนแก่สิ้นใจตายแล้วถึง 3 ศพ
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจล่มสลายครั้งเลวร้ายที่สุดของศรีลังกานับแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี 2491 ส่งผลให้สินค้าจำเป็นเช่นอาหารและแก๊สหุงต้มขาดแคลน ประชาชนต้องต่อแถวรอคอยซื้อน้ำมันดีเซลและเบนซินยาวนานข้ามวันข้ามคืน
ตำรวจรายงานว่า นับตั้งแต่วันเสาร์เป็นต้นมา มีคนแก่เสียชีวิตคาแถวระหว่างรอซื้อน้ำมันแล้ว 3 ราย และยังเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ขับขี่ยวดยานทะเลาะกันเรื่องแซงคิวด้านนอกปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งนอกกรุงโคลัมโบ จนทำให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รายหนึ่งโดนแทงตาย
เมื่อวันจันทร์ มีภาพเหตุการณ์วุ่นวายที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย เผยให้เห็นผู้หญิงที่อารมณ์เดือดดาลกลุ่มหนึ่งปิดถนนขวางทางรถโค้ชของนักท่องเที่ยวบนถนนที่การจราจรพลุกพล่านสายหนึ่งของกรุงเมืองหลวงนานหลายชั่วโมง เนื่องจากไม่พอใจที่ไม่สามารถซื้อน้ำมันก๊าดสำหรับใช้ทำครัว และทำให้เจ้าหน้าที่ทางการศรีลังกาตัดสินใจส่งกำลังทหารไปรักษาการณ์ตามปั๊มน้ำมันต่างๆ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงกลาโหมรายหนึ่งบอกกับเอเอฟพีเมื่อวันอังคารโดยขอปิดบังตัวตนว่า ยิ่งแถวยาวขึ้น ผู้คนก็อารมณ์ร้อนกันมากขึ้น ทางการตัดสินใจเมื่อคืนที่ผ่านมาให้ส่งทหารมาเสริมกำลังของตำรวจ เพื่อขัดขวางการก่อความวุ่นวาย
พวกนายทหารกล่าวว่า ทหารถูกส่งไปวางกำลังตามสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ซีลอนปิโตรเลียม ซึ่งมีธุรกิจค้าปลีกเชื้อเพลิงถึง 2 ใน 3 ของประเทศ
สำนักงานของประธานาธิบดีโกตาเบยา ราชปักษา ประกาศว่าจะจัดประชุมพรรคการเมืองทุกพรรคในวันพุธ เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ฝ่ายค้านบอกไว้แล้วว่าจะบอยคอตการประชุมนี้
วิกฤติการเงินของศรีลังกาเริ่มต้นมาจากการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศขั้นวิกฤติ ที่ทำให้ผู้ค้าไม่มีเงินตราสำหรับชำระสินค้านำเข้า การระบาดของโควิด-19 ยังซ้ำเติมภาคการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งเงินตราต่างประเทศหลักของประเทศที่มีประชากร 22 ล้านคนแห่งนี้ รวมถึงทำให้การส่งเงินกลับเข้าประเทศของแรงงานศรีลังกาในต่างแดนลดลงอย่างมาก
ประธานาธิบดีราชปักษาประกาศไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนด้วยว่า ศรีลังกาจะขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ปัญหาเศรษฐกิจที่ก่อภาวะขาดแคลนสิ่งของจำเป็นต่างๆ รวมถึงไฟฟ้า สร้างความเดือดร้อนต่อประชากรทุกหมู่เหล่าของประเทศนี้ ไม่เว้นแม้แต่นักเรียนหลายล้านคน ที่ถูกสั่งเลื่อนการสอบปลายภาคเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพราะปัญหาขาดแคลนกระดาษและหมึกพิมพ์.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ท่านทูตพี่นิค' แฉปางช้างทวงคืนช้างไทยที่มอบให้ศรีลังกา เพื่อหาเงินเข้ามูลนิธิ
นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความปมดราม่
อัญเชิญองค์ 'ครูบาเจ้าศรีวิชัย' ประกาศเกียรติคุณ เผยแผ่พุทธศาสนา 'ศรีลังกา'
'มูลนิธิอาจารย์วารินทร์' ร่วมกับคณะธรรมทูต อัญเชิญองค์ 'ครูบาเจ้าศรีวิชัย' พร้อมประกาศเกียรติคุณเผยแผ่พุทธศาสนาประเทศศรีลังกา หนุนเสนอชื่อบุคคลสำคัญของโลก
หนุนภาครัฐ-เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในศรีลังกา
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ย้ำ “ประเทศไทยเปิดแล้ว” พร้อมรับการลงทุน เดินหน้า ส่งเสริมศักยภ
‘เศรษฐา’ ปลื้มผลสำเร็จเยือนศรีลังกา เตรียมดันเอกชน-ปตท. ลงทุนพลังงานสะอาดข้ามชาติ
รัฐบาลนี้ได้ลงนามเป็นครั้งแรก ต้องขอบคุณกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศที่ทำงานหนักในทุกมิติ และการเดินทางเยือนศรีลังกา
นายกฯ กล่าวถ้อยแถลง สนับสนุนใช้ประโยชน์จาก FTA ไทย-ศรีลังกาอย่างเต็มที่
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถ้อยแถลงในงาน Sri Lanka – Thailand Business Networking โดยมีนายรานิล วิกรมสิงเห ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา เข้าร่วมงานด้วย
นายกฯ เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ พร้อมประชุมเต็มคณะ ความร่วมมือไทย-ศรีลังกา
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ จากนั้นในเวลา 15.15 น. นายกรัฐมนตรีพบหารือแบบ Four Eyes กับนายรานิล วิกรมสิงเห (H.E. Mr. Ranil Wickremesinghe) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา