‘อัษฎางค์ ยมนาค’ เล่าเรื่องพระเกี้ยว “5 เรื่องราวของรัชกาลที่ 5” ผู้เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียเทียบเคียงยุโรป บอกถึงที่มาพระเกี้ยวก่อนกลายเป็นสัญลักษณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25 ต.ค.2564- นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค” ว่า พระเกี้ยว (ตอนที่ 1)
“5 เรื่องราวของรัชกาลที่ 5” ผู้เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียเทียบเคียงยุโรป 1. พระเกี้ยว คือสัญลักษณ์แทนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 2.รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความทันสมัย” 3. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”วิวัฒนาการสู่ความประชาธิปไตย” 4. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”การพัฒนา” 5. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความเท่าเทียมกัน”
1. พระเกี้ยว คือสัญลักษณ์แทนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 “พระเกี้ยว” เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า เกี้ยว ถ้าเป็นคำนามแปลว่าเครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยาแปลว่าผูกรัดหรือพัน “จุฬาลงกรณ์” แปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือจุลมงกุฎ “จุลมงกุฎ” หมายถึง พระราชโอรสของสมเด็จฯเจ้าฟ้ามงกุฎฯ หรือ พระจอมเกล้าน้อย อันเกี่ยวโยงถึงพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธยเดิม คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ
ดังนั้น “พระเกี้ยว” คือตัวแทนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานพระนามของรัชกาลที่ 5 เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ให้สำนึกใตพระคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้ รัชกาลที่ 5 เป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนมหาดเล็ก จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน
ต่อมา โรงเรียนมหาดเล็กพัฒนามาเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด พระเกี้ยว จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้วย
ต่อมา นายอัษฎางค์ ได้โพสต์ พระเกี้ยว (ตอนที่ 2) “5 เรื่องของรัชกาลที่ 5 ผู้เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียเทียบเคียงยุโรป” 1.พระเกี้ยว คือสัญลักษณ์แทนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 อ่านรายละเอียดที่นี่: https://www.facebook.com/100566188950275/posts/165712192435674/?d=n 2. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความทันสมัย” 3.รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”วิวัฒนาการสู่ความประชาธิปไตย” 4. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”การพัฒนา” 5. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความเท่าเทียมกัน”
2. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”ความทันสมัย” ช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมาในสมัยรัชกาลที่ 4- รัชกาลที่ 5 หลังจากประเทศมหาอำนาจตะวันตกผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ประเทศก้าวล้ำนำโลก แล้วได้ขยายอิทธิพลทางการเมืองการทหารมาสู่เอเชีย ข้ออ้างสำคัญของชาติตะวันตกที่ใช้อ้างความชอบธรรมในการเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน เพื่อจะเข้ามาปกครองประเทศในเอเชียรวมทั้งไทย คือประเทศในเอเชียและไทย ล้าสมัย
รัชกาลที่ 5 ทรงทราบถึงภัยพิบัตินี้ จึงได้ยกเครื่องปฏิรูปการปกครอง ปฏิรูปสังคม(เช่น การเลิกไพร่ เลิกทาส) พัฒนาระบบคมนาคม สาธารณสุขและการศึกษา ครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ ให้ทันสมัยตามอย่างชาติตะวันตก รัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกๆ ในเอเชียที่ ฟังพูดอ่านเขียน ภาษาอังกฤษ ได้ ทำให้ทรงรับรู้ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของการเมืองโลก และสามารถสื่อสารกับชาติมหาอำนาจได้
รัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในเอเชีย ที่เสด็จไปถึงยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและใช้การทูตในการรับมือกับการขยายอำนาจของชาติตะวันตก จนทำให้ไทยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเป็นชาติแรกๆ ในเอเชียที่มีรถไฟ ไฟฟ้า มหาวิทยาลัย เลิกทาส ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคและเริ่มต้นประชาธิปไตย
3. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”วิวัฒนาการสู่ความประชาธิปไตย” หลังจากมีข้าราชการรวมตัวกันเสนอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัยตามอย่างชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอว่าก่อนจะทำการสิ่งใดอันเป็นการปรับปรุงบ้านเมืองไปสู่การมี “คอนสติติวชัน” (Constitution-รัฐธรรมนูญ) นั้น จำเป็นจะต้องทำ “คอเวอนเมนต์รีฟอม” (Government reform-ปฏิรูประบบราชการ) เสียก่อน “ถ้าการเรื่องนี้ยังไม่เป็นการเรียบร้อยได้แล้ว การอื่น ๆ ยากนักที่จะตลอดไปได้”
และนั่นคือที่มาของการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขนานใหญ่ดังที่ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า “Revolution” เส้นทางพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตยในเมืองไทย เริ่มต้นจากจุดเริ่มต้น คือทรงปฏิรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือก “ผู้ใหญ่บ้าน” และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่มีสิทธิเลือกตั้ง “กำนันของตำบล”
4. รัชกาลที่ 5 คือสัญลักษณ์แห่ง”การพัฒนา” ทรงปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินชนิดที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่ายกเครื่องใหม่ทั้งหมด กล่าวคือ ยกเลิกระบบจตุสดมภ์ ที่ประกอบด้วย 4 กรม ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา แล้วเปลี่ยนเป็น กระทรวง 12 กระทรวง ตามแบบชาติตะวันตกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 ปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค โดยแบ่งเป็น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมืองและมณฑล
โปรดติดตามตอนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อัษฎางค์' ชี้ระบอบทักษิณค่อยๆจุดไฟเผาตัวเอง
อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความสั้นๆว่า ทษ.-รพ.ตร.-เอาลูกสาวมาเป็นนา
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เอ็ดดี้ ข้องใจปม ‘เกาะกูด’ ถาม ‘ทักษิณ’ มีข้อตกลงอะไรกับ ‘ฮุนเซน’ หรือไม่
ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์