แนะบริหารความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ

คงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทาง PwC อยากจะแนะนำให้ธนาคารและภาคการเงินของไทยตื่นตัวในเรื่องการบริหารความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ หลังมีแนวโน้มว่าจะมีการนำ Climate Risk Stress Test มาใช้ในอนาคตอันใกล้ โดยหน่วยงานกำกับดูแลในสิงคโปร์-มาเลเซีย ก็ได้มีการออกข้อแนะนำและแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ผลการทดสอบ CST ของ ECB พบธนาคารในยูโรโซนส่วนใหญ่ไม่ได้นับรวมความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศไว้ในโมเดลด้านสินเชื่อของตน 

ในเรื่องนี้ นางสาวสุ อารีวงศ์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก

รวมทั้งกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตื่นตัวในการประเมินการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หรือสภาพภูมิอากาศ กับการดำเนินงานของธนาคารมากขึ้น โดยธนาคารกลางของสิงคโปร์และมาเลเซียได้ออกข้อแนะนำและแนวปฏิบัติในการนำปัจจัยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม มาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร ซึ่งในทางทฤษฎี การนำความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นปัจจัยส่วนเพิ่มในการบริหารความเสี่ยงที่ธนาคารมีอยู่เดิม จะทำให้ธนาคารสามารถประเมินผลกระทบของความเสี่ยงได้อย่างมีความแม่นยำมากขึ้น

ต้องยอมรับว่า กระแสของการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ถือเป็นหนึ่งในพลวัตสำคัญของโลกที่ทุกภาคส่วน รวมทั้งหน่วยงานกำกับร่วมกันผลักดัน ทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติ requirement และกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ภาคธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาโลกร้อน 

ทั้งนี้ เมื่อปลายปี 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลงานกองทุนโดยทางการ (Pillar 2) โดยเพิ่มการคำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ในกระบวนการประเมินความเสี่ยงของเงินกองทุน ซึ่งถึงแม้ว่า ธปท.อาจจะยังไม่ได้ออกแนวทางที่ชัดเจนในปัจจุบัน แต่แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงในหลักเกณฑ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในหลักเกณฑ์การนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้ในการบริหารความเสี่ยงในอนาคตของธนาคาร

ในระยะต่อไปจะเห็นภาคธุรกิจธนาคารยิ่งต้องปรับกลยุทธ์ โดยผนวกการบริหารความเสี่ยงที่พิจารณาถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ และ ESG Risk อื่นๆ เข้ากับการดำเนินธุรกิจมากขึ้น เช่น มีการพิจารณาถึงผลกระทบจากระดับ ESG Risk ของลูกค้าแต่ละราย และมีการนำผลกระทบดังกล่าว มาใช้ในการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าที่มีธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ต่ำ รวมไปถึงการออกสินเชื่อสีเขียว ซึ่งปัจจุบันเริ่มเห็นธนาคารหลายแห่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ และมีการเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของความเสี่ยงด้าน ESG ให้มีความแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ รายงาน Risk and Regulatory Outlook 2022 ของ PwC ยังได้แนะนำแนวทางในการเตรียมตัวสำหรับธนาคารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีการนำแบบทดสอบภาวะวิกฤตด้านความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศมาใช้ คือ 1.สร้างความสามารถด้านข้อมูลสำหรับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดความเสี่ยงด้านเครดิต 2.ร่วมมือกับลูกค้าเพื่อการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่มีคุณภาพ ด้วยการจัดทำผลสำรวจเพื่อสอบถามและศึกษาข้อมูลของลูกค้า 3.มีจุดยืนเชิงกลยุทธ์สำหรับ Sustainable Financing 4.ผนวกความเสี่ยงด้านสภาพอากาศเข้ากับกรอบการบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ในปัจจุบัน 5.ยกระดับทักษะและความรู้การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศภายในองค์กร 6.อัปเดตกระบวนการกำกับดูแลที่มีอยู่ให้ครอบคลุมความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ  7.นำผลการประเมิน Climate Risk Stress Testing มาใช้ในการบริหารพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร 

อย่างไรก็ดี การจัดเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ยังคงมีไม่เพียงพอ ถือเป็นความท้าทายของการบริหารความเสี่ยงของภาคธุรกิจไทย รวมไปถึงกลุ่มประเทศในภูมิภาคนี้ เพราะทำให้การประมาณการความเสียหายจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นไม่ครอบคลุมทุกมิติ และอาจจะไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร ดังนั้น ภาคธุรกิจควรต้องพิจารณาว่าข้อมูลอะไรบ้างที่สามารถนำมาใช้ต่อยอดการบริหารความเสี่ยงด้าน ESG ในอนาคต และภาครัฐควรให้การสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการด้าน ESG ในทุกภาคส่วนมีการพัฒนาขึ้น.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ของขวัญรัฐบาล

อีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ก็เป็นธรรมเนียมของรัฐบาลและ ครม.ที่จะมีมาตรการเป็นของขวัญมอบให้กับประชาชน ซึ่งการประชุม ครม.ล่าสุดเริ่มมีการเคาะมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชนกันแล้ว

ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันเวทีโลก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM BANK คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ

ปี68ธุรกิจบริการอาหารยังโตต่อเนื่อง!

“ธุรกิจบริการอาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2568 จากอานิสงส์ท่องเที่ยวที่กลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้การบริโภคอาหารน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังมีการอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2