ม็อบรถบรรทุกแนะ 5 ข้อช่วยตรึงดีเซล 30 บาท/ลิตร

ม็อบรถบรรทุกเยือนทำเนียบรัฐบาล เสนอ 5 แนวทางแก้ปัญหาดีเซลหลังวันที่ 1 พ.ค.ซึ่งราคาจะขยับ

27 เม.ย.2565 - ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงาน ก.พ. กลุ่มสมาพันธ์ขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยประมาณ 60 คน นำโดยนายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อขอความอนุเคราะห์พิจารณาทบทวนแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาน้ำมันดีเซลผ่านนายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้หนังสือร้องเรียนระบุว่า ตามที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และ รมว.พลังงาน ระบุเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2565 ว่าการตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล 30 บาทต่อลิตรจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เม.ย.2565 และตั้งแต่
วันที่ 1 พ.ค.2565 ภาครัฐจะปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลเป็นขั้นบันไดโดยอ้างอิงราคาน้ำมันดิบตลาดโลก
และจะช่วยเหลือ 50% ของราคาน้ำมันดีเซลในส่วนที่เกิน 30 บาทนั้น สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยรวมถึงเครือข่ายพันธมิตรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น เห็นว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนเป็นวงกว้าง อาทิเช่น ประชาชนผู้บริโภคน้ำมัน ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ผลิต ต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วยังมีแนวทางอื่นๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและทำให้รัฐบาลสามารถตรึงราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 25 - 30 บาทต่อลิตรได้

ดังนั้น สหพันธ์ฯขอเสนอแนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันดีเซล ดังต่อไปนี้ 1.ขอให้รัฐบาลและกระทรวงพลังงานตรึงราคาน้ำมันดีเซล ราคาขายปลีกไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรเป็นระยะเวลา 1 ปี 2.ปรับปรุงโครงสร้างราคาน้ำมันให้เป็นธรรม โดยตัดไบโอดีเซล (B100) ออกจากสูตรน้ำมันดีเซล ซึ่งจะช่วยปรับลดราคาน้ำมันดีเชลได้ประมาณ 1.50 - 2 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี 3.ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลให้เหลือ 20 สตางค์ เป็นระยะเวลา 1 ปี 4. ยกเลิกการใช้ฐานอ้างอิงน้ำมันสำเร็จรูป โรงกลั่นสิงคโปร์ เนื่องจากมีค่าขนส่งและค่าประกันภัยรวมอยู่ด้วย และ 5.พิจารณาปรับเปลี่ยนการบริหารงานในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' ขายฝัน 'IGNITE THAILAND' ให้ 'UN- ESCAP'

นายกฯ หารือรองเลขาธิการสหประชาชาติ และเลขาธิการบริหาร ESCAP ย้ำศักยภาพไทย ในการขับเคลื่อน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เสริมสร้างความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่ประชาชนในภูมิภาค