รัฐบาลโชว์ผลงานด้านดิจิทัล จัดซื้อจัดจ้างโปร่งใส ประหยัดงบ 7.8 หมื่นล้าน

รัฐบาลโชว์ผลงานรัฐบาลดิจิทัลต่อเนื่อง “ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP)” เพิ่มความโปร่งใส ประหยัดงบ 7.8 หมื่นล้าน

23 ธ.ค.2564 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าที่มีอย่างต่อเนื่องของการขับเคลื่อนแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่า​ นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำให้ทุกส่วนราชการเร่งปรับระบบการทำงาน นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในทุกส่วนงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ กรมบัญชีกลาง เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้เดินหน้าในเรื่องดังกล่าวมาระยะหนึ่งแล้ว และมีผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการจัดทำระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) เพื่อส่งเสริมความเป็นรัฐบาลเปิด (Open Government) สร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก มีรายละเอียดที่ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนและทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เป็นการสนับสนุนแหล่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างให้กับหน่วยงานภาครัฐนำไปใช้อ้างอิงในการกำหนดราคากลางหรือของบประมาณ ลดขั้นตอน และเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจนลดต้นทุนของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานล่าสุด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 หน่วยงานรัฐได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแล้วจำนวนทั้งสิ้น 5,247,846 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 98.34 ของจำนวนโครงการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด โดยมีมูลค่าที่จัดหาได้ 1.33 ล้านล้านบาท สามารถประหยัดงบประมาณได้จากการใช้ระบบ e-GP จำนวน 7.86 หมื่นล้านบาท (ประหยัดได้ ร้อยละ 5.57 ของวงเงินงบประมาณในการจัดหา) โดยวิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่สามารถประหยัดงบประมาณได้มากที่สุด คือ วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) ซึ่งประหยัดงบประมาณได้ร้อยละ 15.14 ของวงเงินงบประมาณในการจัดหา เป็นวิธีการซื้อหรือจ้างที่มีรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ไม่ซับซ้อน หรือเป็นสินค้าหรืองานบริการที่มีมาตรฐาน และได้กำหนดไว้ในระบบข้อมูลสินค้า (e-catalog) สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ (1) การเสนอราคาโดยใบเสนอราคา และ (2) การเสนอราคาโดยการประมูลอิเล็กทรอนิกส์

นางสาวรัชดา กล่าวว่า การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลที่ผ่านมานั้น ส่วนราชการต่างๆได้บูรณาการการทำงานทั้งในเรื่องข้อมูลและกระบวนการประสานงาน แต่ละกระทรวงมีการพัฒนาปรับปรุงการทำงานให้ทันสมัยสอดรับเทคโนโลยีดิจิทัล และสามารถผลิตผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมการให้บริการของภาครัฐที่สำคัญมากกว่า 45 บริการไว้ในแหล่งเดียว และจะมีจำนวนบริการเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป การให้บริการประชาชนรูปแบบออนไลน์ การออกเอกสารรับรองต่างๆแบบอเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น สำหรับกรมบัญชีกลาง ในปีงบประมาณ พ.ศ 2565 ได้มีแผนที่จะปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อส่งเสริมให้ให้ผู้ประกอบการ SMEs และ Startup สามารถเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐให้มากขึ้น โดยเฉพาะผ่านทางช่องทางออนไลน์ ที่มุ่งเน้นความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จิรายุ' แจงครม.ยังไม่เคาะตั้งข้าราชการการเมือง นายกฯกำชับตรวจคุณสมบัติ

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะมนตรี (ครม.) ว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการแต่งตั้งข้าราชการเมือง โดย 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมาไม่สามารถนำรายชื่อเข้าที่ประชุมครม.ได้ เนื่องจากนายกฯได้สั่งการสืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้องกับมาตรฐานจริยธรรม รวมทั้งระเบียบพ.ร.บ.

จับตา! แก้ รธน.สุดซอย หวังเอื้อคนที่อาจโดนครอบงำพรรค กลับมาผงาดการเมือง

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับสุดซอยของเพื่อไทย ที่ถูกสังคมสงสัยว่าแก้เพื่อใคร ซึ่งชัดเจนว่า มิใช่ประโยชน์ของระเทศชาติและประชาชน

'ทางหลวงชนบท' ขึ้นแท่นคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล

กรมทางหลวงชนบท รับรางวัลเลิศรัฐ ปี 2567 คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รายหมวด หมวด 6 ด้านกระบวนการคุณภาพและนวัตกรรม  พร้อมขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล

ต้องไม่ยอมมัน! อดีตรองอธิการบดี มธ. ปลุกขวางแก้ รธน. ทำลายความถูกต้อง-เป็นธรรม

ความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราครั้งนี้ หากทำได้สำเร็จ จะเป็นลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรม

'ดุสิตโพล' ชี้คนไทยไม่เชื่อมั่น-ไม่พอใจ การทำงานรัฐบาลดูแลเรื่องน้ำท่วม

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม” ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,207 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยประสบปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 68.77