21มี.ค.-กรมสุขภาพจิตเผยไทยมี“เด็กดาวน์”เกิดใหม่ปีละ800 คน/ปีลดจากเมื่อก่อนปีละ1,000 คน ชี้หญิงตั้งครรภ์อายุมาก และหญิงที่ แท้งลูกบ่อยๆ มีโอกาสเสี่ยงสูง
ที่สถาบันราชานุกูล กทม. นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานเปิดกิจกรรมเนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มี.ค. ทุกปี ในปีนี้เน้นในหัวข้อ “ดาวน์ดวงนี้ที่สร้างได้” โดยนาวาอากาศตรีนพ.บุญเรือง กล่าวว่า กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรมไม่มียารักษา สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ทั่วโลกพบในเด็กเกิดใหม่ประมาณ 1 ต่อ 1,000 คน กว่าร้อยละ 80 เกิดจากแม่อายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนไทยมีหญิงให้กำเนิดลูกที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ปีละ 800-1,000 คน จากหญิงคลอดที่มีปีละประมาณ 800,000 คน คาดขณะนี้จะมีคนไทยอยู่ในกลุ่มอาการดาวน์ 70,000-80,000 คนทั่วประเทศ และจัดอยู่ใน1 ใน 8 ประเภทของผู้พิการไทย ทั้งนี้ หัวใจหลักของการดูแลจะเน้นที่การส่งเสริมพัฒนาการเพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเด็กสามารถมีพัฒนาการดีขึ้นได้ หากพ่อแม่กระตุ้นตั้งแต่ภายในขวบปีแรกและต่อเนื่องจนถึงอายุ 5 ขวบ
ทางด้าน พญ. มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า เด็กดาวน์ซินโดรม จะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติประมาณ 2 ปี ซึ่งเด็กกลุ่มนี้สามารถพัฒนาศักยภาพไปได้เรื่อยๆ และสามารถไปโรงเรียนได้ บางคนสามารถเรียนจบในระดับปริญญาตรี ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง โดยส่วนมากจะเกิดจากคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือคุณแม่ที่มีภาวะแท้งคุกคาม คือมีการแท้งบุตรติดต่อกัน 2 ครั้งขึ้นไป โดยมักเกิดในคุณแม่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ามีเด็กดาวน์ซินโดรมที่เกิดจากคุณแม่ในวัยเจริญพันธุ์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม นอกจากสติปัญญาบกพร่องที่เกิดจากพันธุกรรมแล้ว ยังพบว่ามีปัจจัยภายนอกที่ทำให้ระดับสติปัญญาถดถอยลงไปอีก เช่น สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมการที่แม่บางคนมีการสัมผัสสารพิษอยู่เรื่อยๆก็จะทำให้เด็กที่มีสติปัญญาบกพร่องอยู่แล้วมีสติปัญญาถดถอยลงไปอีก
ทั้งนี้ นอกจากพันธุกรรมแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรมเรื่องอายุก็เป็นส่วนสำคัญ โดยในหญิงทั่วไป จะมีโอกาส 1 ใน 1,000 คน หากมีพันธุกรรมมีโอกาสเกิด 1 ใน 500 คน และหญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาส 1 ใน 100 คน ดังนั้น ยิ่งคุณแม่มีอายุมากและมีพันธุกรรมด้วยก็จะมีเสี่ยงมากไปอีก ซึ่งคุณแม่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือมีประวัติครอบครัว หรือมีประวัติการแท้งคุกคาม สามารถมาตรวจเลือดดูพันธุกรรมได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหรือไม่ ซึ่งจะมีการแสดงตัวโคโมโซม หรือดีเอ็นเอให้เห็นว่าน้องมีความผิดปกติหรือไม่ ดังนั้นขอแนะนำว่าเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนแรกให้มาพบแพทย์หากแพทย์ หากพบผิดปกติสามารถเลือกจะให้น้องอยู่ต่อ หรือทำแท้งได้ตามกฎหมาย แต่โดยส่วนมากแล้วคุณพ่อคุณแม่มักจะเลือกให้น้องอยู่ต่อเพราะเกิดความผูกพันธ์ไปแล้ว ซึ่งเด็กดาวน์ซินโดรมเองเป็นเด็กที่มีความน่ารักในตัวสามารถพัฒนาได้ เพราะไม่ได้มีความบกพร่องมาก จะมีความบกพร่องในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะลดลงเรื่อยๆ จาก 1,000 คนต่อปี ขณะนี้พบว่าเหลือ 800 คนต่อปี ซึ่งอาจมีผลจากการที่เด็กเกิดน้อยลง และการที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพด้วย
ด้านการรักษาจะเน้นกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กให้สามารถทำงานได้ การพูด การเข้าสังคม และการให้การศึกษา ส่วนการให้ยาจะไม่ใช่ยารักษาอาการดาวน์ซินโดรม แต่จะเป็นยาที่รักษาบางอาการ เช่นจะใช้ในกรณีควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ยกตัวอย่าง เด็กที่ถูกทอดทิ้งจะมีภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าเด็กปกติก็จะมียาคลายเศร้าให้ หรือ เด็กบางคนมีความพิการซ้ำซ้อน มีลมชักร่วมด้วยก็จะมียากันชักให้ ทั้งนี้ปัจจุบันสถาบันฯ มีการดูแลเด็กกลุ่มดังกล่าวประมาณ 8,000 คน สำหรับกลุ่มเด็กอาการดาวน์ที่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ตั้งแต่วัยก่อนเรียน สถาบันฯได้จัดโปรแกรมฟื้นฟูทางการศึกษาในช่วงอายุ 6 ปีขึ้นไป แล้วส่งต่อให้สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยส่งเสริมให้ได้ทำงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนในปี 2561 นี้ ได้รับการจ้างงาน 1,039 อัตรา เพิ่มจากปี 2559 ที่มี 654 อัตรา.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |