คกก.อิสระฯ หารือปรับพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ “หมอจรัส” เผยไม่รื้อจากฉบับพ.ศ.2542 ใหม่ทั้งหมด หรือแตะเรื่่องโครงสร้าง แต่ก็ไม่ปรับไปเป็น 14องค์ชายอย่างแน่นอน ด้าน “หมอจิรุตม์” เตรียมรับฟังความคิดเห็น 3 ก.พ.นี้ ที่จ.อยุธยา ตั้งเป้าทำร่าง พ.ร.บ.เสร็จสิ้นเดือนเมษายน
นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ได้มีการหารือถึงพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ ที่จะเป็นตัวหลักของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวจะไม่มีการลงลึกในรายละเอียด แต่จะเป็นการนำประเด็นสำคัญที่จะต้องใช้ในการปฏิรูปการศึกษาเข้ามากำหนดไว้ในพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียดจะดำเนินการในลักษณะกฎหมายลูก โดยการดำเนินการดังกล่าวจะไม่ใช่การรื้อพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ทั้งหมด แต่จะมีการปรับให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในส่วนโครงสร้างหากมีความจำเป็นก็ต้องปรับ แต่ขณะนี้ยังไม่แน่ว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะทำหน้าที่วางนโยบายหรือให้บริการ ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้มีความตั้งใจปฏิรูปโครงสร้าง แต่เน้นปฏิรูปกระบวนการ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากข้างล่าง แต่ถ้าหากต้องเปลี่ยนแปลงข้างบน เพื่อให้เกิดผลก็ต้องทำ
"ผมไม่ได้เลี่ยงบาลีว่า จะไม่แก้แต่จะแก้เท่าที่จำเป็น เช่น เมื่อมีการปรับการศึกษาจากเนื้อหาสาระเป็นสมรรถนะ และมีการเทียบเคียง เรื่องนี้กระทบหลายส่วน ทั้งสำนักวิชาการ หรือกรมวิชาการเดิม ที่อยู่ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสพฐ.ก็ต้องปรับ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็ต้องปรับเพื่อให้ถึงเป้าหมาย แต่ไม่กลับไปเป็น 14 องค์ชายแน่นอน"นพ.จรัสกล่าว
ด้านนพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาแนวทางการจัดทำ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการลงรายละเอียดรวมถึงกรอบแนวคิดและหลักการที่จะนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ ในหลายเรื่อง อย่างเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของระบบการศึกษา ที่เดิมระบบจะมีการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา รการศึกษาในระบบและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จะต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทของการพัฒนาประเทศและสังคมโลกในยุคปัจจุบัน อาจจะมีการทบทวนใหม่ให้จัดเป็นการศึกษาในรูปแบบต่างๆ 1.การศึกษาตามระบบ หมายถึง การศึกษาที่อยู่ในระบบโรงเรียน นอกโรงเรียน โดยเฉพาะการศึกษาการศึกษาทางเลือก ที่เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรมและความหลากหลายทางการศึกษา 2.การศึกษาเพื่อการดำรงชีวิต ที่เป็นเรื่องสำคัญในการต่อยอดสมรรถนะของประชาชนในวัยต่างๆ รองรับโลกและความต้องการของตลาดแรงงาน 3.การศึกษาตามอัธยาศัยที่จะต้องมีระบบกลไก แนวทาง และมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมในการศึกษาตามอัธยาศัยมีความเป็นรูปธรรม เกิดประสิทธิผลด้านการเรียนรู้ของประชาชนอย่างชัดเจนขึ้น
นพ.จิรุตม์ กล่าวต่อว่า ส่วนระดับการศึกษาจะแบ่งเป็น การศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะให้ความสำคัญกับ ม.ปลายหรือสายวิชาชีพตอนต้น ที่จะเชื่อมกับอาชีวศึกษาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ และการศึกษาอุดมศึกษา โดยจะมีกลไกที่จะมาเทียบเคียงการจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน สุดท้ายที่มีการถกกันมากคือกลไกที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องนโยบายด้านการศึกษาในอนาคต จะมีการจัดระบบอย่างไร โดยจะแยกนโยบาย การกำกับดูแล ผู้ปฏิบัติ หน่วยสนับสนุน และหน่วยงานด้านงบประมาณออกจากกัน แต่ยังไม่พูดถึงโครงสร้าง ซึ่งที่ประชุมเห็นว่ากลไกนโยบายต้องเชื่อมโยงกับงบประมาณ เพื่อให้แผนงานชี้นำการขับเคลื่อนในอนาคตอย่างชัดเจน ส่วนโครงสร้างที่เหลืออนุกรรมการที่เกี่ยวข้องจะไปกำหนดรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้ จะมีการรับฟังความคิดเห็นนัดแรกที่จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ โดยตั้งเป้าจะจัดทำร่าง พ.ร.บ.เสร็จสิ้นเดือน เมษายน และดำเนินการให้ทันภายในรัฐบาลนี้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |